อวธูตะ คีตา บทที่ ๕
ॐ इति गदितं गगनसमं तत्
न परापरसारविचार इति ।
अविलासविलासनिराकरणं
कथमक्षरबिन्दुसमुच्चरणम् ॥ १॥
1. The all-pervading Brahman has been expressed by the syllable OM. But Its essence cannot be ascertained by either higher or lower knowledge. Both noumenon and phenomenon have been repudiated in the context of Brahman. Hence, how can the syllable OM express It?
1. พรหมันที่แผ่ซ่านไปทั่ว อธิบายด้วยพยางค์ “โอม”. แต่แก่นแท้ของพรหมันไม่อาจค้นคว้าด้วยความรู้ที่สูงหรือต่ำ. ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนถูกปฏิเสธในบริบทของพรหมัน. เช่นนั้นแล้ว, ข้าฯ จะอธิบายพรหมันด้วยพยางค์ “โอม” ได้อย่างไร?
OM is called the Nada-Brahman, or the Sound-Brahman. The three letters, A, U, and M, pronounced in combination as OM, are the generalized symbol of all possible sounds. All articulate sounds are produced in the space between the root of the tongue and the lips: The throat sound is A, and M is the last sound. U represents the rolling forward of the impulse that begins at the root of the tongue and ends at the lips. If properly pronounced, OM will represent the whole gamut of sound production; and no other word can do this. This OA/is the true symbol of God.
โอม – ถูกเรียกว่า นาดา-พรหมัน [Nada-Brahman] หรือ ศัพทะ-พรหมัน [Sound-Brahman] มาจาก 3 พยัญชนะ คือ อะ อุ มะ รวมกันเป็น “โอม” เป็นสัญลักษณ์ทั่วไปของเสียงที่เป็นไปได้ทั้งหมด เสียงที่เปล่งออกมาทั้งหมดจะเกิดขึ้นในช่องว่างระหว่างโคนลิ้นกับริมฝีปาก: เสียงจากลำคอคือ อะ และ มะ คือเสียงสุดท้าย อุ หมายถึงการเคลื่อนไปข้างหน้าของแรงกระตุ้นที่เริ่มต้นที่โคนลิ้นและสิ้นสุดที่ริมฝีปาก หากออกเสียงถูกต้อง “โอม” จะแสดงช่วงเสียง [gamut] ทั้งหมดของการผลิตเสียง และไม่มีคำอื่นใดที่สามารถทำได้ “โอม” เป็นสัญลักษณ์ที่แท้จริงของพระเจ้า
The Katha Upanishad says: “The goal which all the Vedas declare, which all austerities aim at, and which men desire when they lead the life of continence, I will tell you briefly: it is OM. This syllable OM is indeed Brahman. This syllable is the Highest. Whosoever knows this syllable obtains all that he desires.” (1.2.15-16)
กถะอุปนิษัท กล่าวว่า “เป้าหมายที่พระเวททั้งหลายแสดงไว้, ซึ่งมุ่งไปอย่างเคร่งครัด, และผู้ที่ปรารถนาจะนำชีวิตไปสู่การละเว้น [การไม่มักมาก], ข้าฯ จะบอกท่านสั้น ๆ ว่า: มันคือ “โอม”. พยางค์”โอม” นี้เป็นพรหมันอย่างแท้จริง. พยางค์นี้เป็นพยางค์สูงสุด. ใครก็ตามที่รู้พยางค์นี้จะได้รับทุกสิ่งที่เขาปรารถนา”. (1.2.15-16)
इति तत्त्वमसिप्रभृतिश्रुतिभिः
प्रतिपादितमात्मनि तत्त्वमसि ।
त्वमुपाधिविवर्जितसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २॥
2. The Upanishads—through their great dictums, such as “Thou art That” and “I am Brahman”—have declared that your inmost Atman is the Reality. You are the all-embracing Sameness, devoid of all attributes. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
2. อุปนิษัท – ด้วยมหาวรรคยะ, เช่น “ท่านคือตตฺ” และ “ข้าฯ คือพรหมัน” – ได้แสดงให้เห็นว่าอาตมันที่ลึกที่สุดของท่านคือสัจธรรม. ท่านคือทั้งหมด – ที่โอบกอดด้วยความเหมือนกัน, ปราศจากคุณลักษณะทั้งหลาย. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
Being the selfsame . . .doyou weep ?—According to the Vedantic tradition, the Self, the real nature of human beings, should be heard of, reflected on, and meditated upon as a part of spiritual discipline. Thus, one becomes illumined through this repetition of practice. In this chapter, Dattatreya Avadhuta repeats the following line thirty times:
Kimu rodishi manasi sarva-samam.
Kimu=why; rodishi= [do you] weep; manasi= [O] mind; sarva-samam= [being the] selfsame Brahman.
เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, จะร้องไห้ไปใย? – ตามความเชื่อของปรัชญาเวทานตะ, อาตมัน, ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์, ควรฟัง, ไตร่ตรอง, และปฏิบัติสมาธิ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกจิต. ดังนั้น, คนจะรู้แจ้งด้วยการปฏิบัติซ้ำๆ เช่นนี้. ในบทนี้, ทัตตะเตรยะ อวธูตะ ได้กล่าวดังนี้ สามสิบครั้ง:
คิมู โรดิชิ มะนาสี สารวา-สมาม.
คิมู=ทำไม; โรดิชิ = [คุณ] ร้องไห้; มะนาสี= [โอ] ใจ; สารวา-สมาม= [เป็น] ตัวตนเดียวกับพรหมัน
अध ऊर्ध्वविवर्जितसर्वसमं
बहिरन्तरवर्जितसर्वसमम् ।
यदि चैकविवर्जितसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ३॥
3. The all-encompassing Brahman is devoid of below and above, interior and exterior. Moreover, It cannot be described as numerically one. Being the selfsame Brahman. O mind, why do you weep?
3. พรหมันอันรอบรู้ปราศจากเบื้องล่างและเบื้องบน, ภายในและภายนอก. ยิ่งไปกว่านั้น, มันไม่อาจอธิบายได้ด้วยตัวเลข. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि कल्पितकल्पविचार इति
न हि कारणकार्यविचार इति ।
पदसन्धिविवर्जितसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ४॥
4. Brahman cannot be discerned by following prescribed rules and rituals. It cannot be examined through cause and effect. It is bereft of inflected words and euphonic combinations. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
4. พรหมันนั้นไม่อาจสังเกตได้โดยการปฏิบัติตามกฎและพิธีกรรม. ไม่สามารถตรวจสอบพรหมันด้วยเหตุและผล. มันปราศจากคำที่อ้อมค้อมและคำผสมผสานอันไพเราะรื่นหู. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि बोधविबोधसमाधिरिति
न हि देशविदेशसमाधिरिति ।
न हि कालविकालसमाधिरिति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ५॥
5. Brahman is not the union of consciousness and unconsciousness. It is not the meeting point of space and outer space. It is not the merging point of time and timelessness. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
5. พรหมันมิใช่การประสานกันของสติและการไร้สติ. มันมิใช่จุดนัดพบของที่ว่างกับอวกาศภายนอก. มันมิใช่จุดรวมของเวลาและไร้กาลเวลา. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि कुम्भनभो न हि कुम्भ इति
न हि जीववपुर्न हि जीव इति ।
न हि कारणकार्यविभाग इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ६॥
6. Brahman is neither the jar-space nor the jar. It is neither the body of the individual soul nor the individual soul itself. It is beyond the relationship of cause and effect. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
6. พรหมันมิใช่ทั้งที่ว่างในโถหรือตัวโถ. มันมิใช่ร่างกายของปัจเจกวิญญาณ อีกทั้งมิใช่ปัจเจกวิญญาณ. มันอยู่นอกเหนือความสัมพันธ์ของเหตุและผล. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह सर्वनिरन्तरमोक्षपदं
लघुदीर्घविचारविहीन इति ।
न हि वर्तुलकोणविभाग इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ७॥
7. The all-pervading Brahman is freedom Itself. The divisions of short and long, circular and angular, are absent in It. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
7. พรหมันที่แผ่ซ่านไปทั่วเป็นอิสระต่อตัวมันเอง. สั้นหรือยาว, กลมหรือเหลี่ยม, ไม่มีอยู่ในนั้น. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह शून्यविशून्यविहीन इति
इह शुद्धविशुद्धविहीन इति ।
इह सर्वविसर्वविहीन इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ८॥
8. Brahman is neither void nor nonvoid. It is neither pure nor impure. It is neither all nor none. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
8. พรหมันไม่มีทั้งความว่างและไร้ความว่าง. มันไม่ใช่ทั้งบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์. มันไม่ใช่ทั้งหมดและไม่มีอะไรเลย. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि भिन्नविभिन्नविचार इति
बहिरन्तरसन्धिविचार इति ।
अरिमित्रविवर्जितसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ९॥
9. Brahman cannot be discerned as divided or undivided. Moreover, It has no outside or inside or junction of the two. It is equal to all and bereft of enemy and friend. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
9. ไม่อาจแยกแยะพรหมันว่าแบ่งแยกได้หรือแบ่งแยกไม่ได้. ยิ่งไปกว่านั้น, มันไม่มีภายนอกหรือภายใน หรือ ทางแยกของทั้งสอง. มันเท่าเทียมกันทั้งหมด ปราศจากศัตรูและมิตร. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि शिष्यविशिष्यस्वरूप इति
न चराचरभेदविचार इति ।
इह सर्वनिरन्तरमोक्षपदं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १०॥
10. In Brahman there is no differentiation between one who is a disciple and one who is not. In Brahman there is no differentiation between the movable and the immovable. The all-pervading Reality is liberation Itself. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
10. ในพรหมันไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่เป็นสาวกและผู้ที่ไม่ใช่. ในพรหมันไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เคลื่อนที่ได้และสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้. สัจธรรมที่แผ่ซ่านไปทั่วคือการหลุดพ้นของตัวมันเอง. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
Liberation Itself— “As pure water poured into pure water becomes one with it, so also, O Gautama, does the Self of the sage who knows.” (Katha Upanishad, 2.1.15)
การหลุดพ้นของตัวมันเอง. – “เฉกเช่นการเทน้ำบริสุทธิ์ลงในน้ำบริสุทธิ์ ย่อมกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ฉันใด, โอ เคาตมะ, ก็เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของปราชญ์ผู้รู้แจ้ง ฉันนั้น” (กถะ อุปนิษัท, 2.1.15)
ननु रूपविरूपविहीन इति
ननु भिन्नविभिन्नविहीन इति ।
ननु सर्गविसर्गविहीन इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ११॥
11. Indeed, Brahman is bereft of form and formlessness. It is truly neither divided nor undivided. Moreover, It is free from creation and destruction. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
11. อันที่จริง, พรหมันได้ละทิ้งทั้งรูปและความไร้รูป. แท้จริงแล้ว, ไม่มีการแบ่งแยกหรือไม่แบ่งแยก. ยิ่งกว่านั้น, มันเป็นอิสระจากการสร้างและทำลาย. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न गुणागुणपाशनिबन्ध इति
मृतजीवनकर्म करोमि कथम् ।
इति शुद्धनिरञ्जनसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १२॥
12. Since I am not bound by the fetters of good and evil qualities, how can I be involved in the actions of the living and the dying? Truly, I am the pure, unclouded, all-pervading Reality. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
12. เพราะข้าฯ ไม่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนแห่งคุณสมบัติดีและชั่ว, แล้วข้าฯ จะมีส่วนร่วมในกรรมแห่งชีวิตและความตายได้อย่างไร? อันที่จริง, ข้าฯ คือความบริสุทธิ์, ไร้เมฆหมอก, สัจธรรมที่แผ่ซ่านไปทั่ว. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
How can I be involved —An illumined soul sees that the gunas (qualities) in the form of the senses are involved with the gunas in the form of the sense objects, and that this constitutes man’s action. So he always holds himself unattached, allowing the gunas to perform their natural functions.
ข้าฯ จะมีส่วนร่วมได้อย่างไร? – วิญญาณที่สว่างไสวเห็นว่าคุณะ (คุณสมบัติ) เป็นรูปแบบหนึ่งของความรู้สึก ซึ่งความรู้สึกนั้นมีส่วนร่วมกับคุณะว่าเป็นวัตถุแห่งความรู้สึก, และนั่นถือเป็นการกระทำของมนุษย์ (ทางโลก). ดังนั้น, ผู้ที่ครองตนโดยไม่ยึดติด, จะปล่อยให้คุณะทำหน้าที่ไปตามธรรมชาติของมัน (ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม).
इह भावविभावविहीन इति
इह कामविकामविहीन इति ।
इह बोधतमं खलु मोक्षसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १३॥
13. Brahman is free from emotion and excitement, desire and desirelessness. Indeed, this highest Consciousness is identical with liberation. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
13. พรหมันปราศจากอารมณ์และความตื่นเต้น, ความปรารถนาและความไร้ปรารถนา. อันที่จริง, สติสูงสุดนี้เหมือนกับการหลุดพ้น. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह तत्त्वनिरन्तरतत्त्वमिति
न हि सन्धिविसन्धिविहीन इति ।
यदि सर्वविवर्जितसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १४॥
14. The true nature of Brahman is eternal Reality Itself. It has neither union nor separation. Though It stands aloof from all, yet It pervades all equally. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
14. ธรรมชาติที่แท้จริงของพรหมันเป็นสัจธรรมนิรันดร์ด้วยตัวเอง. มันไม่มีทั้งการรวมและการแยก. แม้ว่ามันจะอยู่ห่างไกลจากสิ่งทั้งปวง, แต่ก็แผ่ซ่านไปทั่วอย่างเท่าเทียมกัน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
अनिकेतकुटी परिवारसमं
इहसङ्गविसङ्गविहीनपरम् ।
इह बोधविबोधविहीनपरं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १५॥
15. Brahman pervades equally the open space, the home, and the family. The Supreme Reality has neither attachment nor detachment, neither knowledge nor ignorance. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
15. พรหมันแผ่ซ่านอย่างทั่วถึงในที่ว่างไร้ขอบเขต, ในบ้าน, และในครอบครัว. สัจธรรมสูงสุดไม่เคยยึดติดและแยกจากกัน, ไม่มีทั้งความรู้และอวิชชา. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
अविकारविकारमसत्यमिति
अविलक्षविलक्षमसत्यमिति ।
यदि केवलमात्मनि सत्यमिति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १६॥
16. This universe, which is the transformation of the immutable Brahman, is unreal; and all phenomena of the invisible Brahman are unreal. Indeed, the Atman alone is the Reality. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
16. จักรวาลนี้, ซึ่งคือการแปรสภาพของพรหมัน (ที่ไม่เปลี่ยนแปลง), เป็นสิ่งที่ไม่จริง; ปรากฏการณ์ต่างๆ ของพรหมัน (ที่มองไม่เห็น) นั้นไม่จริง. อันที่จริง, อาตมันเพียงสิ่งเดียวคือความจริง. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
Atman —According to the Vedanta philosophy. Brahman and Atman are the same. Brahman can be compared to the vast space, and the Atman, the Self within the individual, can be compared to the room-space.
อาตมัน – ตามปรัชญาเวทานตะ. พรหมันและอาตมันนั้นเหมือนกัน. พรหมันเปรียบได้กับที่ว่างในห้วงอวกาศ, และอาตมัน, ตัวตนภายในแต่ละบุคคล, เปรียบได้กับที่ว่างของห้อง.
इह सर्वसमं खलु जीव इति
इह सर्वनिरन्तरजीव इति ।
इह केवलनिश्चलजीव इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १७॥
17. Truly, Brahman is identical with the individual soul. It pervades equally all living beings and all immovable things. Being the selfsame Brahman, O mind.’why do you weep?
17. อันที่จริง, พรหมันเหมือนกับปัจเจกวิญญาณ. มันแผ่ซ่านไปทั่วทุกสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่ขยับเขยื้อนอย่างเท่าเทียมกัน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
अविवेकविवेकमबोध इति
अविकल्पविकल्पमबोध इति ।
यदि चैकनिरन्तरबोध इति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १८॥
18. It is senseless to discriminate about Brahman, which is beyond thought. It is sheer ignorance to see variety in unity. Brahman truly is uninterrupted consciousness. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
18. การแยกแยะพรหมัน (หรือเห็นว่าพรหมันแตกต่างกัน) ซึ่งอยู่เหนือความคิด, เป็นเรื่องไร้สาระ. เป็นความเขลาอย่างยิ่งที่จะเห็นความหลากหลายในความเป็นเอกภาพ. พรหมันที่แท้จริงคือสติที่ไม่ถูกรบกวน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न हि मोक्षपदं न हि बन्धपदं
न हि पुण्यपदं न हि पापपदम् ।
न हि पूर्णपदं न हि रिक्तपदं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ १९॥
19. Brahman is not a state of freedom or bondage, not a state of virtue or vice, not a state of fullness or emptiness. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
19. พรหมันมิใช่สภาวะของอิสระหรือพันธะ, มิใช่สภาวะของคุณธรรมหรือความชั่ว, ไม่ใช่สภาวะบริบูรณ์หรือว่างเปล่า. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
यदि वर्णविवर्णविहीनसमं
यदि कारणकार्यविहीनसमम् ।
यदिभेदविभेदविहीनसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २०॥
20. Indeed, the omnipresent Brahman is devoid of caste and outcaste. It is free from cause and effect, unity and diversity. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
20. อันที่จริง, พรหมันที่อยู่ทุกหนทุกแห่งปราศจากวรรณะและจัณฑาล. มันปราศจากเหตุและผล, ปราศจากเอกภาพและความหลากหลาย, เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह सर्वनिरन्तरसर्वचिते
इह केवलनिश्चलसर्वचिते ।
द्विपदादिविवर्जितसर्वचिते
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २१॥
21. Brahman, the absolute Consciousness, pervades all living beings as well as motionless objects of the world. And again, It shines of Itself, devoid of men and other beings. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
21. พรหมัน, สติสมบูรณ์, แผ่ซ่านไปทั่วสรรพชีวิตเช่นเดียวกับวัตถุที่ไม่เคลื่อนที่ของโลก. และอีกครั้ง, มันส่องแสงในตัวเอง, โดยปราศจากมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
अतिसर्वनिरन्तरसर्वगतं
अतिनिर्मलनिश्चलसर्वगतम् ।
दिनरात्रिविवर्जितसर्वगतं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २२॥
22. The omnipresent Brahman is beyond all, and again, It pervades all equally. It is exceedingly pure and tranquil. It exists without day and night. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
22. พรหมันที่อยู่ทุกหนทุกแห่งอยู่เหนือสรรพสิ่ง, และอีกครั้ง, มันแผ่ซ่านไปทั่วอย่างเท่าเทียม. มันบริสุทธิ์และสงบอย่างยิ่ง. มันดำรงอยู่โดยไม่มีวันและคืน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
เอกภาพและความหลากหลาย (unity and diversity) การเป็นหนึ่งเดียวกันและความแบ่งแยกแตกต่างที่หลากหลาย
न हि बन्धविबन्धसमागमनं
न हि योगवियोगसमागमनम् ।
न हि तर्कवितर्कसमागमनं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २३॥
23. Bondage and freedom, union and separation, reasoning and inference, and such pairs of opposites, do not converge in Brahman. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
23. พันธะและอิสระ, การรวมเข้าและการแยกออก, การใช้เหตุผลและการอนุมาน, และคู่ตรงกันข้าม, สิ่งเหล่านี้มิได้บรรจบกันที่พรหมัน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह कालविकालनिराकरणं
अणुमात्रकृशानुनिराकरणम् ।
न हि केवलसत्यनिराकरणं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २४॥
24. In Brahman, time and its divisions, such as morning and evening, have all been denied. The atom and the primordial elements, such as fire and air, have also been negated. But the Ultimate Reality cannot be denied. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
24. ในพรหมัน, เวลาและการแบ่งเวลา, เช่น เช้าและเย็น, ล้วนถูกปฏิเสธ. อะตอมและองค์ประกอบพื้นฐาน, เช่น ไฟและอากาศ, ก็ถูกปฏิเสธเช่นกัน. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह देहविदेहविहीन इति
ननु स्वप्नसुषुप्तिविहीनपरम् ।
अभिधानविधानविहीनपरं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २५॥
25. Brahman does not have a body nor is It disembodied. Indeed, It has no such states as waking, dreaming, and sleeping. It is beyond name and rules. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
26. พรหมันไม่มีร่างกาย อีกทั้งมิได้ถูกแยกออกจากร่างกาย. อันที่จริง, มันไม่มีสภาวะเช่น การตื่น, การฝัน, และการหลับ. มันอยู่เหนือนามและกฎ. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
गगनोपमशुद्धविशालसमं
अतिसर्वविवर्जितसर्वसमम् ।
गतसारविसारविकारसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २६॥
26. The all-pervading Brahman is spotless and vast like space. It transcends all and It permeates all. It is present in the essential and the nonessential as well as in the modification. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
26. พรหมันที่แผ่ซ่านไปทั่วนั้นไร้มลทินและกว้างใหญ่เหมือนห้วงอวกาศ. มันอยู่เหนือสรรพสิ่งและแทรกซึมทั่วทุกสรรพสิ่ง. มันมีอยู่ในสิ่งสำคัญและสิ่งไม่สำคัญตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह धर्मविधर्मविरागतर -
मिह वस्तुविवस्तुविरागतरम् ।
इह कामविकामविरागतरं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २७॥
27. Brahman is unconcerned about virtue and vice. It is indifferent to wealth and poverty, and free from passion and dispassion. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
27. พรหมันไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมหรือความชั่ว. มันไม่เห็นความแตกต่างของความมั่งคั่งหรือขัดสน, และมันปราศจากความปรารถนาและไร้ปรารถนา. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
सुखदुःखविवर्जितसर्वसम -
मिह शोकविशोकविहीनपरम् ।
गुरुशिष्यविवर्जिततत्त्वपरं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २८॥
28. The all-pervading Brahman is free from pleasure and pain, grief and joy. In that Supreme Reality there is no guru and no disciple. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
28. พรหมันที่แผ่ซ่านไปทั่วนั้นปราศจากความพึงพอใจและความเจ็บปวด, ทุกข์และสุข. ในสัจธรรมสูงสุดนั้นไม่มีคุรุและศิษย์. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
न किलाङ्कुरसारविसार इति
न चलाचलसाम्यविसाम्यमिति ।
अविचारविचारविहीनमिति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ २९॥
29. In Brahman there is no amorous play or offspring, no strength or weakness. It has neither mobility nor immobility, neither equality nor inequality. It is devoid of discrimination and indiscrimination. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
29. ในพรหมันไม่มีเสน่หาหรือทายาท, ไม่มีความเข้มแข็งหรืออ่อนแอ. มันไม่มีทั้งสิ่งที่เคลื่อนที่ได้และสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้, ไม่มีทั้งความเท่าเทียมและไม่เท่าเทียม. มันปราศจากการเลือกปฏิบัติและการไม่เลือกปฏิบัติ. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
इह सारसमुच्चयसारमिति ।
कथितं निजभावविभेद इति ।
विषये करणत्वमसत्यमिति
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ३०॥
30. Brahman is the quintessence of all essences, and Its nature [attributes] has been stated as being separate from Itself. Any action in the sensible phenomenon is unreal. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
30. พรหมันคือแก่นแท้ของธาตุทั้งมวล, ธรรมชาติของพรหมัน [คุณลักษณะ] ถูกแยกออกจากตัวมันเอง. การกระทำต่างๆ ในปรากฏการณ์ที่รู้สึกได้นั้นไม่มีอยู่จริง. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
बहुधा श्रुतयः प्रवदन्ति यतो
वियदादिरिदं मृगतोयसमम् ।
यदि चैकनिरन्तरसर्वसमं
किमु रोदिषि मानसि सर्वसमम् ॥ ३१॥
31. In various ways the Upanishads declare that the manifested space, earth, and so on, are like water in a mirage. Truly, Brahman alone exists equally in all. Being the selfsame Brahman, O mind, why do you weep?
31. อุปนิษัทได้กล่าวไว้หลายทางว่า ที่ว่างอันประจักษ์, โลก และอื่นๆ, เหมือนน้ำในภาพลวงตา. อันที่จริง, มีเพียงพรหมันเท่านั้นที่ดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมกันในสรรพสิ่ง. เมื่อเป็นตัวตนเดียวกันกับพรหมันแล้ว, โอ ใจเอ๋ย, จะร้องไห้ไปใย?
विन्दति विन्दति न हि न हि यत्र
छन्दोलक्षणं न हि न हि तत्र ।
समरसमग्नो भावितपूतः
प्रलपति तत्त्वं परमवधूतः ॥ ३२॥
32. Where the intellect cannot reach, how can there be any form of composition? The great Avadhuta, after purifying himself through meditation and becoming absorbed in Infinite Bliss, has sung spontaneously about Brahman.
32. ในที่ที่ปัญญาไปไม่ถึง, แล้วจะมีรูปแบบต่างๆ ได้อย่างไร? อวธูตะ ผู้ยิ่งใหญ่, หลังจากชำระตนด้วยการทำสมาธิและดื่มด่ำในนิรามิสสุขอนันต์แล้ว, ได้ขับขานถึงพรหมันอย่างเป็นธรรมชาติ.
इति पञ्चमोऽध्यायः ॥ ५॥
Here ends the fifth chapter of the Avadhuta Gita of Dattatreya—the Swami’s instructions to Kartika entitled “Same-sightedness.”
จบบทที่ห้าของ อวธูตะ คีตา แห่งทัตตะเตรยะ ในหัวข้อ – คำสอนของสวามีที่แนะนำกฤติกา เรื่อง “ทรรศนะเดียวกัน”