ฤภูคีตา
ऋभुगीता
“ฤภูคีตา” บทเพลงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหัวใจของคัมภีร์ปุราณะ
คำสอนแห่งพระศิวะ ณ เกทาระ บนยอดเขาหิมาลัย
"หัวใจของคัมภีร์ปุราณะ"
ฤภูคีตา (สันสกฤต: ऋभुगीता; IAST : ṛbhugītā) เป็นบทเพลงหรือบทสนทนาศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู ระหว่างปราชญ์ฤภู (ผู้เป็นคุรุ) และ ปราชญ์นิทากะ (ผู้เป็นศิษย์) ฤภูคีตาเป็นบทเพลงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหัวใจของคัมภีร์ปุราณะซึ่งมีเนื้อหาอธิบายเป็นอัทไวตะ, ความเป็นหนึ่งเดียวและไร้สิ่งคู่ ฤภูคีตามีประมาณสองพันโศลกเป็นส่วนที่หกของศิวรหัสยะมีเนื้อหากล่าวถึงอาตมันและพรหมัน ฤภูคีตาใช้การปฏิเสธ , การยืนยันและการกล่าวซ้ำๆ ในรายละเอียดที่ถี่ถ้วน เพื่อพิจารณาธรรมชาติของความเป็นจริงภายใต้หัวข้อต่างๆ
"ฤภูคีตานำผู้อ่านไปสู่การรู้แจ้ง"
ปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้แก่ รามานา มหาศรี (Ramana Maharshi) และศรีจันทรเชกาเร็นดรา สรัสวดี (Sri Chandrashekarendra Saraswati) ถือว่าฤภูคีตาเป็นบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ภควัน ศรีรามานา มหาศรี แนะนำว่าการท่องฤภูคีตา (แบบอาขยาน) จะช่วยส่งเสริมศรัทธาที่แข็งแกร่งทางจิตวิญญาณ ท่านกล่าวว่า “การท่องฤภูคีตาหรือการอ่านออกเสียง (แบบอาขยาน) นั้นจะสามารถนำผู้นั้นไปสู่การรู้แจ้งในธรรมชาติของตนเองได้” ฤภูคีตาเป็นคัมภีร์จะส่งผลดีถ้าอ่านแบบออกเสียง, มันมีรูปแบบโบราณที่ออกแบบมาเป็นหนังสือสวดมนต์ วิธีการเขียนเอื้อต่อการอ่านออกเสียงมากที่สุด แม้จะอ่านให้กับตนเองฟังเพียงคนเดียวก็ตาม โดยการท่องมนต์ตามโศลกในฤภูคีตานั้น, จิตใจจะปรับเข้ากับความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อจิตใจได้รับการชำระให้บริสุทธิ์, ก็จะเป็นการง่ายที่จิตใจจะกลับไปยังแหล่งที่มาและตั้งอยู่ที่นั่น “มันไม่สำคัญว่าคุณจะเข้าใจหรือไม่, แต่ก็ยังจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ”
"การอ่านฤภูคีตานั้นดีพอ ๆ กับสมาธิ"
ความสำคัญของฤภูคีตา จะเห็นได้จากเรื่องจริงตั้งแต่สมัยที่ท่านภควันได้สวดมนต์และนั่งคุยกับสาวกของท่าน หลายต่อหลายครั้งในการสวดมนต์และสนทนาธรรม ท่านแนะนำให้สาวกอ่านและศึกษาฤภูคีตาเป็นประจำ นอกจากนี้ท่านยังยืนยันว่าการทำซ้ำๆ จะเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพในการสอบถามและทบทวนตนเองและท่านได้กล่าวว่า "สิ่งที่ได้จากการอ่านจากฤภูคีตานั้นดีพอ ๆ กับสมาธิ" ท่านภควันมักกล่าวว่า เราควรศึกษาและอ่านฤภูคีตาเป็นประจำ ในฤภูคีตามักกล่าวว่า “ฉันไม่ใช่ร่างกาย” “ฉันไม่ใชจิต” “ฉันคือพรหมัน” “ฉันคือสรรพสิ่ง” เราจะต้องพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นสภาพธรรมชาติของเรา
"สิ่งที่พระศิวะได้สอนบุตรของพระองค์"
ฤภูคือบุตรที่เกิดจากจิตใจของพรหมผู้สร้าง (หนึ่งในตรีเทพสูงสุด) ฤภูมีธรรมชาติเป็นความรู้แห่งพรหมัน ส่วนนิทากะคือศิษย์ผู้เชี่ยวชาญในพระคัมภีร์แต่ยังขาดความมั่นคงในความรู้แห่งพรหมัน เนื่องจากนิทากะไม่สามารถเข้าใจถึงความเป็นจริงที่เป็นรากฐานของสรรพสิ่งในจักรวาล ฤภูได้สังเกตเห็นและให้คำแนะนำต่อศิษย์ดังแสดงในคีตานั่นเอง คำสอนที่ฤภูแสดงต่อนิทากะในฤภูคีตานั้นคือคำสอนของศิวะที่สอนให้กับฤภู ณ เกทาระ บนเขาไกรลาส ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันกับที่ศิวะได้สอนแก่สกันทะบุตรชายของพระองค์ นั่นเองฯ
remark
- IAST ย่อมาจาก The International Alphabet of Sanskrit Transliteration
- การปฏิเสธที่ใช้ในฤภูคีตา คือ neti-neti (ไม่ใช่สิ่งนี้และไม่ใช่สิ่งนั้น)
- อ้างอิงจาก website: https://en.wikipedia.org/wiki/Shivarahasya_Purana
- https://en.wikipedia.org/wiki/Ramana_Maharshi
- https://en.wikipedia.org/wiki/Chandrashekarendra_Saraswati
- The Mountain Path, June 1993, p.103 https://end-to-suffering.blogspot.com/2006/04/ribhu-gita-essence.html
- Self-Realization by B.V. Narasimha Swami, Ch. 26. First edition
- www.sivanandaonline.org
Reference: "The Ribhu Gita", First English Translation from the Original Indian Epic,
SIVARAHASAYA
Translated by Dr.H.Ramamoorthy , Assisted by Master Nome.