อวธูตะ คีตา บทที่ ๑
ईश्वरानुग्रहादेव पुंसामद्वैतवासना । महद्भयपरित्राणाद्विप्राणामुपजायते ॥ १ ॥
1. It is God’s grace alone which gives wise men the desire to realize nondual Brahman; thus they are set free from great fear.
1. มีเพียงพระคุณของพระเจ้าเท่านั้นที่ประทานความปรารถนาต่อการรู้แจ้งถึงพรหมันอันไร้ความเป็นคู่; ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นอิสระจากความกลัวอันยิ่งใหญ่.
Desire —It is true that mere desire to realize Brahman cannot save men from great fear, but the author has taken it for granted that the aspirant is qualified and competent, and therefore Brahman will be surely realized.
ความปรารถนา – เป็นความจริงที่ว่า อาศัยเพียงความปรารถนาที่จะหลุดพ้นไม่สามารถช่วยให้มนุษย์ให้พ้นจากความกลัวอันยิ่งใหญ่, แต่ผู้เขียนถือว่าผู้ปรารถนาฯ ที่มีคุณสมบัติและความสามารถนั้น, จะรู้แจ้งถึงพรหมันอย่างแน่นอน.
Nondual Brahman —“Brahman is one without a second,” says the Chhandogya Upanishad (6.2.1). In the nondualistic experience, the knower, knowledge, and knowable become one. Thus, he who knows Brahman becomes Brahman.
พรหมันอันไร้ความเป็นคู่ – “พรหมันคือหนึ่งไม่มีสอง” กล่าวไว้ในฉานโทคยะ อุปนิษัท[1] (6.2.1) ในประสบการณ์อันไร้ความเป็นคู่, ผู้รู้ ความรู้ และสิ่งที่สามารถรู้ได้ กลายเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นผู้ที่รู้แจ้งถึงพรหมันจึงกลายเป็นพรหมัน.
[1] ฉานโทคยะ อุปนิษัท (ฉานฺโทคฺย-อุปนิษทฺ) “บทเพลงและการสังเวย” (สามเวท) เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ “ฉานฺโทคฺย-พฺราหฺมณ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอภิปรายปัญหาของพิธีสวดบูชาและทฤษฎีต่าง ๆ เช่น แหล่งกำเนิดและความสำคัญของคำว่า “โอม” ความหมายและชื่อของ สามนฺ อัตมัน ปราณ เป็นต้น
Great fear —The whole world is fraught with fear—death, disease, despair, grief, and so on. Where there are two, there is fear, because one limits the other. Only in nonduality is there no fear. When an aspirant attains Brahman, he becomes fearless.
ความกลัวอันยิ่งใหญ่ – ทั้งโลกเต็มไปด้วยความกลัว – ความตาย, โรคภัย, ความสิ้นหวัง, ความเศร้าโศกและอื่นๆ ที่ใดมีสิ่งคู่, ที่นั่นมีความกลัว, เพราะสิ่งหนึ่งจำกัดอีกสิ่งหนึ่ง มีเพียงการไร้ความเป็นคู่ที่ไม่มีความกลัว เมื่อผู้ปรารถนา[1]บรรลุถึงพรหมัน, เขากลายเป็นผู้ไร้ความเกรงกลัว.
[1] ผู้ปรารถนา หมายถึง ผู้ปรารถนาที่จะรู้แจ้งถึงพรหมัน
येनेदं पूरितं सर्वमात्मनैवात्मनात्मनि ।
निराकारं कथं वन्दे ह्यभिन्नं शिवमव्ययम् ॥ २ ॥
2. Indeed, everything in this universe is filled with the Atman. And, since the Atman is covered by Itself, how can I worship that formless, indivisible, immutable Supreme Beatitude?
2. แน่นอน, ทุกสิ่งในจักรวาลถูกเติมเต็มด้วยอาตมัน. และอาตมันซ่อนอยู่ในตัวของมันเอง, ข้าฯ จะบูชาสิ่งที่ไร้รูป, แบ่งแยกไม่ได้, เป็นสุขสูงสุดไร้การเปลี่ยนแปลง ได้อย่างไร?
Worship —Worship is possible when there are two—that is, the worshipper and the worshipped. When the unitive knowledge of “I am Brahman” is realized, then who will worship whom?
การบูชา – การบูชาเกิดขึ้นได้เมื่อมีสองสิ่ง- นั่นคือผู้บูชาและผู้ได้รับการบูชา. เมื่อบรรลุถึงความรู้ที่ว่า “ข้าฯ คือพรหมัน”, แล้วใครจะบูชาใครเล่า?
पञ्चभूतात्मकं विश्वं मरीचिजलसन्निभम् ।
कस्याप्यहो नमस्कुर्यामहमेको निरञ्जनः ॥ ३ ॥
3. The universe, consisting of the five elements [space, air, fire, water, and earth], is like water in a mirage. Ah, being that one, stainless Atman, to whom shall I bow down?
3. จักรวาลประกอบด้วยธาตุทั้งห้า [ที่ว่าง, อากาศ, ไฟ, น้ำ, และดิน], เหมือนน้ำในภาพลวงตา. อ่า!, การเป็นสิ่งนั้น, อาตมันอันไร้มลทิน, แล้วข้าฯ จะกราบไหว้ต่อผู้ใดเล่า?
आत्मैव केवलं सर्वं भेदाभेदो न विद्यते ।
अस्ति नास्ति कथं ब्रूयां विस्मयः प्रतिभाति मे ॥ ४ ॥
4. Truly the Atman alone is all, and in It there is neither division nor nondivision. It appears to me perplexing to say, “The Atman exists” or “The Atman does not exist.”
4. แท้จริงแล้วอาตมันเพียงสิ่งเดียวคือสรรพสิ่ง, และในนั้นไม่มีทั้งการแบ่งแยกและการไม่แบ่งแยก. สำหรับข้าฯ มันดูน่างุนงงที่จะกล่าวว่า, “อาตมันมีอยู่จริง” หรือ “อาตมันไม่มีอยู่จริง”.
Neither division nor nondivision —The Atman is inexpressible. Everything in this world has been either conceptualized by the mind or expressed by speech except the Atman. No conception of division or nondivision is possible with regard to the Atman since no second object apart from It exists. For example, if a person had lived in the solar region from the beginning of his life, he would have no conception of darkness or of light.
ไม่มีทั้งการแบ่งแยกและการไม่แบ่งแยก – อาตมันเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้. ทุกสิ่งในโลกถูกกำหนดด้วยจิตและอธิบายด้วยคำพูดยกเว้นอาตมัน. ไม่มีแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกหรือการไม่แบ่งแยกที่เป็นไปได้เกี่ยวกับอาตมัน เพราะไม่มีสิ่งที่ดำรงอยู่อื่นใดที่แยกออกจากอาตมัน ยกตัวอย่างเช่น, ผู้อาศัยอยู่ในเขตสุริยะ, เขาจะไม่มีความคิดเกี่ยวกับความมืดหรือความสว่าง.
वेदान्तसारसर्वस्वं ज्ञानं विज्ञानमेव च ।
अहमात्मा निराकारः सर्वव्यापी स्वभावतः ॥ ५ ॥
5. The quintessence of the whole Vedanta is the knowledge and the realization of the Atman. By nature I am that formless, all-pervading Atman.
5. แก่นแท้ของเวทานตะคือความรู้และการรู้แจ้งถึงอาตมัน. โดยธรรมชาติแล้ว ข้าฯ เป็นอาตมันอันไร้รูปร่าง, แผ่ซ่านไปทั่ว.
यो वै सर्वात्मको देवो निष्कलो गगनोपमः ।
स्वभावनिर्मलः शुद्धः स एवायं न संशयः ॥ ६ ॥
6. Undoubtedly I am that Atman, which is omnipresent, luminous, undivided like space, intrinsically pure, and unclouded by maya.
6. ข้าฯ เป็นอาตมันอย่างไร้ข้อกังขา, ซึ่งอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง, สว่างไสว, แบ่งแยกไม่ได้เหมือนห้วงอวกาศ, บริสุทธิ์ในเนื้อแท้, ไร้เมฆแห่งมายา.
Luminous —This term is derived from the Sanskrit word deva; it also means a god. The Atman is self-luminous, as is a pearl with its lustre.
สว่างไสว – คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า “เทพ”; มันยังหมายถึงพระเจ้า อาตมันส่องสว่างในตัวเองเช่นเดียวกับไข่มุกที่แวววาว.
अहमेवाव्ययोऽनन्तः शुद्धविज्ञानविग्रहः ।
सुखं दुःखं न जानामि कथं कस्यापि वर्तते ॥ ७ ॥
7. Truly, I am imperishable, infinite, and the embodiment of pure consciousness. I do not know how happiness and misery are experienced or who it is that experiences them.
7. แท้จริงแล้ว, ข้าฯ เป็นอมตะ, อนันต์, และเป็นศูนย์รวมของสติบริสุทธิ์. ข้าฯ ไม่รู้ว่าความสุขและความทุกข์เป็นอย่างไร หรือใครเป็นผู้ประสบสิ่งเหล่านี้.
न मानसं कर्म शुभाशुभं मे
न कायिकं कर्म शुभाशुभं मे ।
न वाचिकं कर्म शुभाशुभं मे
ज्ञानामृतं शुद्धमतीन्द्रियोऽहम् ॥ ८ ॥
8. For me there is no mental action—good or bad; For me there is no physical action—good or bad; For me there is no verbal action—good or bad. I am undying consciousness, pure, and transcendental.
8. สำหรับข้าฯ ไม่มีการกระทำทางจิตใจ [มโนกรรม] – ดีหรือชั่ว; สำหรับข้าฯ ไม่มีการกระทำทางกาย [กายกรรม] – ดีหรือชั่ว; สำหรับข้าฯ ไม่มีการกระทำทางวาจา [วจีกรรม] – ดีหรือชั่ว; ข้าฯ คือสติที่ไม่มีวันตาย, บริสุทธิ์, และหนือธรรมชาติ.
Action —The Atman is actionless. To perform any action three things are necessary—the doer, the instrument, and the object. These divisions are possible in the domain of
maya and not in the Atman. According to Vedanta philosophy, avidya-kama-karma (ignorance, desire, and action) are rotating in a cyclic order. If there is no ignorance then there is no desire, and without desire no action is possible.
การกระทำ [กรรม] – อาตมันไม่มีการกระทำ. การกระทำใดๆ ต้องการสามองค์ประกอบ – ผู้กระทำ การกระทำ และผู้ถูกกระทำ. การแบ่งแยกนี้เป็นไปได้ในหลักของมายา มิใช่ในอาตมัน. ตามหลักปรัชญาเวทานตะ, อวิชชา-ตัณหา-กรรม หมุนเวียนไปเป็นวัฏจักร. ถ้าไม่มีอวิชชาแล้วก็จะไม่เกิดตัณหา และเมื่อไม่มีตัณหาก็ไม่มีการกรรมใดๆ.
मनो वै गगनाकारं मनो वै सर्वतोमुखम् ।
मनोऽतीतं मनः सर्वं न मनः परमार्थतः ॥ ९ ॥
9. Truly the mind is like space; it seems to face in all directions; it seems to transcend everything; it seems to be everything. But in reality, the mind does not exist.
9. แท้จริงแล้วจิตก็เปรียบเสมือนที่ว่าง; ดูเหมือนหันหน้าไปทุกทิศทุกทาง; ดูเหมือนว่าจะอยู่เหนือทุกสิ่ง; ดูเหมือนว่าจะเป็นทุกอย่าง. แต่ในความเป็นจริงนั้น, จิตไม่มีอยู่จริง
Mind —According to the Brihadaranyaka Upanishad, “Desire, resolve, doubt, faith, want of faith, steadiness, unsteadiness, shame, intelligence, and fear—all these are but the mind.” (1.5.3)
จิต – ตามพฤหทารัณยกะ อุปนิษัท[1], ““ความปรารถนา ความตั้งใจ ความสงสัย ศรัทธา ความไม่ศรัทธา ความมั่นคง ความไม่มั่นคง ความละอาย สติปัญญา และความกลัว ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจิตใจ” (1.5.3)
[1] พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (พฤหทารณฺยก-อุปนิษทฺ) (ศูกล ยชุรเวท) เป็นคัมภีร์อุปนิษัทที่มีความสำคัญมากที่สุดและเก่าแก่ที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ “ศตฺปถะ-พฺราหฺมณ” แบ่งออกเป็น 3 กาณฑะ อันดับแรกคือ มธุ-กาณฺฑ เป็นคำสอนเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของอัตมันและปรมาตมัน อันดับสองคือ ยาชฺญวลฺกฺย หรือ มุนิ-กาณฑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางปรัชญาของคำสอน อันดับสามคือ ขิล-กาณฺฑ เป็นคำสอนเกี่ยวกับรูปแบบบางประการของการบูชาและการทำสมาธิ การสะท้อนทางตรรกะ การทำสมาธิอย่างลึก ฯลฯ
अहमेकमिदं सर्वं व्योमातीतं निरन्तरम् ।
निरन्तरम् पश्यामि कथमात्मानं प्रत्यक्षं वा तिरोहितम् ॥ १०॥
10. I am one and in everything. I am unbounded and beyond space. How can I see my own Self appearing or disappearing?
10. ข้าฯ คือหนึ่งเดียวในทุกสิ่ง. ข้าฯ ไร้ขอบเขตและอยู่เหนืออวกาศ. ข้าฯ จะเห็นตัวตนของข้าฯ เองปรากฏขึ้นหรือหายไปได้อย่างไร?
त्वमेवमेकं हि कथं न बुध्यसे
समं हि सर्वेषु विमृष्टमव्ययम् ।
सदोदितोऽसि त्वमखण्डितः प्रभो
दिवा च नक्तं च कथं हि मन्यसे ॥ ११॥
11. Why do you not understand you are truly that absolute One? You are that eternal Atman reflecting all equally. You are the unrefuted Lord and ever shining. Then how can you think of day [light] or night [darkness]?
11. ทำไมท่านไม่เข้าใจว่าท่านเป็นหนึ่งเดียวอย่างแท้จริง? ท่านคืออาตมันนิรันดร์ที่สะท้อนถึงความเท่าเทียมกัน. ท่านคือพระเจ้าผู้ไร้ข้อโต้แย้งและเปล่งประกายตลอดกาล. แล้วท่านนึกถึงกลางวัน [แสง] หรือกลางคืน [ความมืด] ได้อย่างไร?
You —“I am Brahman,” “Thou art That”—these Vedic dictums indicate the same meaning though the wording is different. In the previous verse, Dattatreya described his identity with the Atman, and here he is trying to convince his disciple that he (the disciple) also is the Atman.
ท่าน – “ข้าฯ คือพรหมัน,” “ท่านคือตตฺ” – คติพจน์ในพระเวทเหล่านี้บ่งบอกความหมายเดียวกันแม้ว่าถ้อยคำจะแตกต่างกัน. ในโศลกที่แล้วทัตตะเตรยะพรรณนาว่าพระองค์เหมือนกับอาตมันทุกประการ, และโศลกนี้พระองค์พยายามโน้มน้าวศิษย์ว่าเป็นอาตมันเช่นเดียวกัน.
Day or night —An illumined soul transcends space, time, and causation.
กลางวันหรือกลางคืน – วิญญาณสว่างไสวอยู่เหนืออวกาศ, เวลา และ สาเหตุ.
आत्मानं सततं विद्धि सर्वत्रैकं निरन्तरम् ।
अहं ध्याता परं ध्येयमखण्डं खण्ड्यते कथम् ॥ १२॥
12. Be aware of the Atman always. It is continuous and everywhere the same. You say “I am he who meditates,” and “The Supreme One is the object of meditation.” Why do you thus divide the indivisible?
12. พึงระวังอาตมันอยู่เสมอ. มันเหมือนกันต่อเนื่องทุกหนทุกแห่ง. ท่านกล่าวว่า “ข้าฯ คือผู้นั่งสมาธิ”, และ “สิ่งสูงสุดหนึ่งเดียวคือเป้าหมายของการนั่งสมาธิ”. ทำไมท่านถึงได้แบ่งแยกสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้เล่า?
Divide the indivisible—In samadhi, the meditator, meditation, and the object of meditation—all these three become one. This is the culmination of Vedantic realization.
แบ่งแยกสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ – สมาธิ, ผู้ทำสมาธิ, การทำสมาธิ และเป้าหมายของการทำสมาธิ—ทั้งสามนี้รวมกันเป็นหนึ่ง นี้เป็นสุดยอดของการรู้แจ้งแห่งเวทานตะ.
न जातो न मृतोऽसि त्वं न ते देहः कदाचन ।
सर्वं ब्रह्मेति विख्यातं ब्रवीति बहुधा श्रुतिः ॥ १३॥
13. You were never born and you will never die. You have never had a body. The Upanishads declare in many different ways this avowed truth: “All is Brahman.”
13. ท่านไม่เคยเกิดและท่านจะไม่ตาย. ท่านไม่เคยมีร่างกาย. อุปนิษัทเปิดเผยความจริงอันเป็นที่ยอมรับด้วยวิธีต่างๆ นานาว่า “สรรพสิ่งคือพรหมัน”.
Upanishads —There are two types of scriptures: First, the Shruti, which were revealed to the seers of truth and which have been handed down from guru to disciple; second, the Smriti—that is, the manmade scriptural laws. The Upanishads belong to the first category. As they are usually found at the end of each of the Vedas, they are called Vedanta.
อุปนิษัท – คัมภีร์มีสองประเภท: อย่างแรกคือศรุติ, ซึ่งเปิดเผยต่อผู้รู้แจ้งสัจธรรมหรือเป็นการถ่ายทอดจากคุรุสู่สาวก; อย่างที่สองคือสมฤติ[1]กฎแห่งคัมภีร์ที่มนุษย์เขียนขึ้น. อุปนิษัทจัดอยู่ในประเภทแรก เราจึงมักพบอยู่ในตอนท้ายของทุกๆ พระเวท, คำสอนเหล่านี้จึงถูกเรียกว่า “เวทานตะ”.
[1] สมฤติ ( Smriti ) “ remembered ” เป็นคัมภีร์ที่แต่งเพิ่มเติมภายหลัง เพื่ออธิบายความ หรือ ประกอบ พระเวท อ้างว่าได้จดจำมาจากคำบอก เขียน เช่น คัมภีร์ธรรมศาสตร์ คัมภีร์ปุราณะ ได้หรือถ่ายทอดต่อ ๆ เล่าต่อกันมา ทางความทรงจำ
स बाह्याभ्यन्तरोऽसि त्वं शिवः सर्वत्र सर्वदा ।
इतस्ततः कथं भ्रान्तः प्रधावसि पिशाचवत् ॥ १४॥
14. You are always present within as well as without. You are that Supreme Beatitude always and everywhere. Why then do you run hither and thither like a confused ghost?
14. ท่านปรากฏภายในเช่นเดียวกับภายนอก. ท่านเป็นสิ่งสูงสุดไร้การเปลี่ยนแปลงในทุกหนแห่ง. แล้วทำไมท่านจึงวิ่งไปที่นี่และที่นั่นเหมือนดั่งผีที่สับสน?
संयोगश्च वियोगश्च वर्तते न च ते न मे ।
न त्वं नाहं जगन्नेदं सर्वमात्मैव केवलम् ॥ १५॥
15. For you and me there can be neither union nor separation. In reality, neither you nor I nor this world exists. The Atman alone abides.
15. สำหรับท่านและข้าฯ ไม่มีทั้งการรวมกันหรือการแบ่งแยกกัน. แท้จริงแล้ว, ทั้งท่าน, ข้าฯ และโลกนี้ไม่มีอยู่จริง มีเพียงอาตมันเท่านั้นที่ดำรงอยู่.
शब्दादिपञ्चकस्यास्य नैवासि त्वं न ते पुनः ।
त्वमेव परमं तत्त्वमतः किं परितप्यसे ॥ १६॥
16. You do not belong to the five objects of senses, such as sound, touch, form, taste, and smell; nor do they, again, belong to you. Indeed, you are that Supreme Reality. What reason then have you to grieve?
16. ท่านไม่ได้เป็นของผัสสะทั้งห้า เช่น เสียง สัมผัส รูป รส และ กลิ่น; และผัสสะเหล่านั้นมิได้เป็นของท่าน แท้จริงแล้ว, ท่านคือสัจธรรมสูงสุด. เหตุใดท่านถึงต้องโศกเศร้า?
जन्म मृत्युर्न ते चित्तं बन्धमोक्षौ शुभाशुभौ ।
कथं रोदिषि रे वत्स नामरूपं न ते न मे ॥ १७॥
17. You have no birth or death, no memory, no bondage or liberation, nor have you good or evil. Why do you weep, O my dear? Name and form belong neither to you nor to me.
17. ท่านไม่เกิดหรือตาย, ไม่มีความทรงจำ ไม่มีพันธะหรือการปลดปล่อย และท่านไม่มีความดีหรือความชั่ว. เหตุใดท่านถึงร้องไห้, โอ้ ที่รัก? นามและรูปไม่ได้เป็นทั้งของท่านหรือของข้าฯ.
No birth or death . . .good or evil —Birth and death are connected with the body; bondage and liberation, good and evil, are connected with the mind; but the Atman, the real nature of man, is beyond the body and the mind.
ไม่เกิดหรือตาย, ไม่มี….ความดีหรือความชั่ว – เกิดและตายเกี่ยวข้องกับร่างกาย; พันธะหรือการปลดปล่อย, ความดีหรือความชั่วเกี่ยวข้องกับจิตใจ; แต่ อาตมัน, ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์นั้นอยู่เหนือร่างกายและจิตใจ.
Name and form —According to Vedanta philosophy, Brahman is one without a second,- but It appears to be manifold by the interposition of name and form, which is called maya. As the wave has a form and a name, “wave,” but it is not different from the sea, so the objects of the universe have various forms and names but they are not different from Brahman. In samadhi, when name and form disappear, man experiences the oneness of Brahman.
นามและรูป – ตามปรัชญาเวทานตะ พรหมันเป็นหนึ่งไม่มีสอง – แต่มันปรากฏอย่างซับซ้อนโดยการแทรกแซงของนามและรูป, ซึ่งเรียกว่า มายา. เฉกเช่นคลื่นมีนามและรูปว่า “คลื่น” แต่มันมิได้ต่างจากทะเล, ดังนั้นวัตถุของจักรวาลมีหลายนามและรูป แต่มันมิได้แตกต่างจากพรหมัน. ในสมาธิ, เมื่อนามและรูปหายไป, มนุษย์จะประสบกับการเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมัน.
अहो चित्त कथं भ्रान्तः प्रधावसि पिशाचवत् ।
अभिन्नं पश्य चात्मानं रागत्यागात्सुखी भव ॥ १८॥
18. O mind, why are you wandering about like a restless ghost? Realize that undifferentiated Atman. Give up all craving and be happy.
18. โอ ใจเอ๋ย, ทำไมท่านจึงพเนจรไปเหมือนผีเร่ร่อน? พึงตระหนักว่าอาตมันนั้นไม่แตกต่าง. ละทิ้งความปรารถนาทั้งหลายและเป็นสุข
त्वमेव तत्त्वं हि विकारवर्जितं
निष्कम्पमेकं हि विमोक्षविग्रहम् ।
विमोक्षविग्रहम् न ते च रागो ह्यथवा विरागः
कथं हि सन्तप्यसि कामकामतः ॥ १९॥
19. Truly, you are that unchanging Reality, which is motionless, one, and freedom itself. You do not experience passion or dispassion. Why then do you torment yourself by desiring objects of lust?
19. แท้จริงแล้ว, ท่านคือสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง, ไม่เคลื่อนไหว, เป็นหนึ่ง, และเป็นอิสระในตัวเอง. ท่านไม่สัมผัสกับความหลงใหลหรือชิงชัง. เหตุใดท่านจึงทรมานตนเองด้วยความปรารถนาในวัตถุแห่งราคะ?
Freedom itself -—According to Vedanta, the knower of Brahman becomes Brahman—and that is real freedom, or liberation.
อิสระในตัวเอง – ตามเวทานตะ, ผู้รู้พรหมันกลายเป็นพรหมัน – และนั่นคืออิสระที่แท้จริง, หรือการหลุดพ้น.
वदन्ति श्रुतयः सर्वाः निर्गुणं शुद्धमव्ययम् ।
अशरीरं समं तत्त्वं तन्मां विद्धि न संशयः ॥ २०॥
20. All the Upanishads declare that Brahman, the Supreme Reality, is without attributes, pure, immutable, bodiless, and pervading everything equally. Know that I am that Brahman. Do not doubt this.
20. อุปนิษัททั้งหมดกล่าวว่า พรหมันคือสัจธรรมสูงสุด, ไม่มีคุณลักษณะ, บริสุทธิ์, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไร้ร่างกาย, แผ่ซ่านไปทั่วทุกสิ่งอย่างเท่าเทียมกัน. พึงรู้เถิดว่า ข้าฯ คือพรหมัน อย่าสงสัยสิ่งนี้
साकारमनृतं विद्धि निराकारं निरन्तरम् ।
एतत्तत्त्वोपदेशेन न पुनर्भवसम्भवः ॥ २१॥
21. Know this: That which has form is unreal [because it is limited by its form]; that which is formless is eternal. He who exemplifies this truth in his own life will no longer be subject to rebirth.
21. จงรู้ว่า: สิ่งที่มีรูปร่างนั้นไม่จริง [เพราะมันถูกจำกัดด้วยรูปร่าง]; สิ่งที่ไม่มีรูปร่างเป็นนิรันดร์. ผู้ที่เป็นตัวอย่างในสัจธรรมนี้ด้วยชีวิตของเขาเอง จะไม่ต้องเกิดใหม่อีกต่อไป.
Rebirth —Man wants immortality. If he wants to stop death, he will have to stop birth; because birth and death are the obverse and reverse of the same coin. Vedanta suggests that man can transcend birth and death by realizing the immortal Atman. The Katha Upanishad says, “He who has understanding, who has control over his mind, and is ever pure, reaches that goal from which he is not born again.” (1.3.8)
การเกิดใหม่ – มนุษย์ต้องการเป็นอมตะ. หากเขาต้องการยุติความตาย, เขาจะต้องหยุดการเกิด; เพราะการเกิดและกาตายเป็นเหมือนสองด้านของเหรียญเดียวกัน. เวทานตะแนะนำว่า มนุษย์สามารถอยู่เหนือการเกิดและตายโดยการรู้แจ้งถึงอาตมัน. กถะ อุปนิษัท[1]กล่าวว่า “ผู้ที่เข้าใจ, ผู้ควบคุมจิตตนได้, และบริสุทธิ์ตลอดกาล, ย่อมบรรลุถึงเป้าหมายซึ่งเขาจะไม่เกิดใหม่อีก” (1.3.8)
[1] กถะ อุปนิษัท (กฐ-อุปนิษทฺ) “ความตายเป็นครู” (กฤษณะ ยชุรเวท) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า กฐาโกปนิษทฺ นำเสนอเนื้อหาในรูปของการสนทนาระหว่าง นิจิเกตสฺ กับ ยม (เทพแห่งความตาย) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาความลับที่อยู่เบื้องหลังชีวิตและความตายของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับพรหมัน ธรรมชาติของอัตมัน (Self) ความจริงแท้สูงสุดของสิ่งที่ดำรงอยู่ทั้งหลาย เสียง “โอม” อัตมันที่เป็นอมตะ อัตมันที่มีสองลักษณะ คุณลักษณะตรงกันข้ามกันของสิ่งสูงสุด การเปรียบเทียบร่างกายกับรถม้าศึก ฯลฯ
एकमेव समं तत्त्वं वदन्ति हि विपश्चितः ।
रागत्यागात्पुनश्चित्तमेकानेकं न विद्यते ॥ २२॥
22. The sages say that the Reality is one and unchanging. When craving is renounced, unity and diversity cease to exist in the mind. Craving According to Vedanta, the whole world is nothing but a projection of the mind; cessation of desire, dissolution of the mind, and illumination occur simultaneously.
22. ปราชญ์กล่าวว่าสัจธรรมเป็นหนึ่งและไม่เปลี่ยนแปลง. เมื่อละทิ้งความปรารถนา, เอกภาพและความหลากหลายก็หยุดอยู่ภายในจิต. ความปรารถนาตามเวทานตะ, โลกทั้งหมดเป็นเพียงภาพจำลองของจิต; การหยุดความปรารถนา; การดับของจิต, และความสว่าง เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน.
เอกภาพและความหลากหลาย (unity and diversity) การเป็นหนึ่งเดียวกันและความแบ่งแยกแตกต่างที่หลากหลาย
अनात्मरूपं च कथं समाधि रात्मस्वरूपं च कथं समाधिः ।
अस्तीति नास्तीति कथं समाधि र्मोक्षस्वरूपं यदि सर्वमेकम् ॥ २३॥
23. How can a man attain samadhi as long as he thinks of himself as something other than the Atman? But, on the other hand, samadhi is not possible for a man who thinks of himself as the Atman. How can samadhi be attained as long as a man thinks that the Atman exists and yet does not exist? And what need is there to attain samadhi if all are one and by nature free?
23. มนุษย์จะบรรลุสมาธิได้อย่างไรตราบเท่าที่เขาคิดว่าตัวเขาเองเป็นสิ่งอื่นที่มิใช่อาตมัน? แต่, กล่าวอีกนัยหนึ่ง สมาธิก็ไม่เกิดขึ้นกับคนที่คิดว่าตัวเขาเองเป็นอาตมัน. จะบรรลุสมาธิได้อย่างไรตราบเท่าที่เขายังคิดว่าอาตมันมีอยู่หรือยังไม่มี? และไม่จำเป็นที่จะบรรลุสมาธิถ้าสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวและหลุดพ้นโดยธรรมชาติ.
Samadhi —This superconscious state is of two kinds: savikalpa and nirvikalpa. In nirvikalpa samadhi, knower- knowledge-knowable become unified; but this does not occur in savikalpa samadhi. Here Dattatreya means to say that being the Atman, it is illogical to think that one would have to practise samadhi.
สมาธิ – สภาวะเหนือจิตสำนึกนี้มีสองประเภท: สาวิกัลปะและนิรวิกัลปะ ในนิรวิกัลปะสมาธิ, ผู้รู้-ความรู้-สิ่งที่ถูกรู้ กลายเป็นหนึ่งเดียว; แต่สิ่งนี้ไม่เกิดในสาวิกัลปะสมาธิ. ในที่นี้ทัตตะเตรยะจะอธิบายว่า การเป็นอาตมัน, จึงไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าคนเช่นนั้นต้องปฏิบัติสมาธิ.
विशुद्धोऽसि समं तत्त्वं विदेहस्त्वमजोऽव्ययः ।
जानामीह न जानामीत्यात्मानं मन्यसे कथम् ॥ २४॥
24. You are the ever-pure and unchanging Reality. You are bodiless, birthless, and imperishable. “I know the Atman,” or “I do not know”—why do you think in such terms?
24. ท่านบริสุทธิ์ตลอดกาลและเป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. ท่านไม่มีร่างกาย, ไม่เกิด, และไม่เสื่อมสลาย. “ข้าฯ รู้ถึงอาตมัน” หรือ “ข้าฯ ไม่รู้” – เหตุใดท่านถึงคิดเรื่องเช่นนั้น?
तत्त्वमस्यादिवाक्येन स्वात्मा हि प्रतिपादितः ।
नेति नेति श्रुतिर्ब्रूयादनृतं पाञ्चभौतिकम् ॥ २५॥
25. The Atman, the true nature of being, has been established by the great Vedic dictums, such as “Thou art That” and “I am Brahman.” The body, consisting of five elements, is unreal—this has been declared by the Upanishads, saying, “Not this, not this.”
25. อาตมัน, ธรรมชาติที่แท้ของชีวิต, ถูกกล่าวไว้ในมหาวรรคยะ, เช่น “ท่านคือตตฺ” และ “ข้าฯ คือพรหมัน”. ร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งห้า, เป็นสิ่งที่ไม่จริง – สิ่งนี้อธิบายในอุปนิษัท, กล่าว่า “ไม่ใช่สิ่งนี้, ไม่ใช่สิ่งนี้”.
Vedic dictums —They are four in number:
- “Consciousness [manifest in an individual] is Brahman,” as stated in the Aitareya Upanishad (3.1.3) of the Rig Veda.
- “I am Brahman,” as stated in the Brihadaranyaka Upanishad (1.4.10) of the Yajur Veda.
- “Thou art That,” as stated in the Chhandogya Upanishad (6.8.7) ofthe&zma Veda.
- “This Atman is Brahman,” as stated in the Mandukya Upanishad (2) of the Atharva Veda.
มหาวรรคยะ 4 ประการ:
- “สติคือพรหมัน” ในไอตเรยะ อุปนิษัท[1] แห่งฤคเวท.
- “ข้าฯ คือพรหมัน” ในพฤหาทารัณยกะ อุปนิษัท[2] แห่งยชุรเวท.
- “ท่านคือตตฺ” ในฉานโทคยะ อุปนิษัท[3] แห่งสามเวท.
- “อาตมันคือพรหมัน” ในมุณฑกะ อุปนิษัท[4] แห่งอาถรรพเวท.
[1] ไอตเรยะ อุปนิษัท (ไอตเรย-อุปนิษทฺ) “ตัวตนและอาตมันของมนุษย์” (ฤคเวท) เนื้อหาเกี่ยวกับยัญพิธีและการแปลความหมายของยัญพิธี เพื่อให้ผู้ประกอบยัญพิธีเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งที่แฝงอยู่ภายใน รวมถึงความรู้และการบูชาปราณ ฯลฯ
[2] พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (พฤหทารณฺยก-อุปนิษทฺ) (ศูกล ยชุรเวท) เป็นคัมภีร์อุปนิษัทที่มีความสำคัญมากที่สุดและเก่าแก่ที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ “ศตฺปถะ-พฺราหฺมณ” แบ่งออกเป็น 3 กาณฑะ อันดับแรกคือ มธุ-กาณฺฑ เป็นคำสอนเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของอัตมันและปรมาตมัน อันดับสองคือ ยาชฺญวลฺกฺย หรือ มุนิ-กาณฑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางปรัชญาของคำสอน อันดับสามคือ ขิล-กาณฺฑ เป็นคำสอนเกี่ยวกับรูปแบบบางประการของการบูชาและการทำสมาธิ การสะท้อนทางตรรกะ การทำสมาธิอย่างลึก ฯลฯ
[3] ฉานโทคยะ อุปนิษัท (ฉานฺโทคฺย-อุปนิษทฺ) “บทเพลงและการสังเวย” (สามเวท) เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ “ฉานฺโทคฺย-พฺราหฺมณ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอภิปรายปัญหาของพิธีสวดบูชาและทฤษฎีต่าง ๆ เช่น แหล่งกำเนิดและความสำคัญของคำว่า “โอม” ความหมายและชื่อของ สามนฺ อัตมัน ปราณ เป็นต้น
[4] มุณฑกะ อุปนิษัท (มุณฺฑก-อุปนิษทฺ) “การรับรู้สองอย่าง” (อาถรรพเวท) สันนิษฐานว่าชื่อของคัมภีร์อุปนิษัทนี้มาจากคำสอนที่อยู่ในอุปนิษัททำให้ศิษย์ผู้เรียนรู้และสะอาดเหมือนกับศีรษะที่ถูกโกนด้วยมีด (มุณฺฑก) ขจัดม่านแห่งความโง่เขลาออกไป คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความจริงแท้สูงสุด พรหมวิทยา หนทางการบรรลุพรหมัน ฯลฯ คัมภีร์นี้ศึกษากันในหมู่ สนฺนยาสี (นักบวช)
Not this, not this —It is a process of elimination, or negation, since the Atman cannot be described in a positive way. “This Self is that which has been described as ‘not this, not this.’ It is imperceptible, for It is never perceived; undecaying, for It never decays; unattached, for It is never attached; unfettered—It never feels pain and never suffers injury.” (.Brihadaranyaka Upanishad, 4.5.15)
ไม่ใช่สิ่งนี้ ไม่ใช่สิ่งนี้ – มันเป็นกระบวนการของการกำจัดหรือการปฏิเสธ เนื่องจากไม่สามารถอธิบายอาตมันในทางบวกได้. “อาตมันคือสิ่งที่ถูกอธิบายว่า ‘ไม่ใช่สิ่งนี้ ไม่ใช่สิ่งนี้’. เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เพราะรับรู้ไม่ได้; ไม่เน่าเปื่อย เพราะไม่เสื่อมสลาย; ยึดถือไม่ได้ เพราะไม่อาจยึดถือ; อิสระ—ไม่เคยรู้สึกเจ็บปวดและไม่เคยได้รับบาดเจ็บ”. (พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท, 4.5.15)
आत्मन्येवात्मना सर्वं त्वया पूर्णं निरन्तरम् ।
ध्याता ध्यानं न ते चित्तं निर्लज्जं ध्यायते कथम् ॥ २६॥
26. Truly, everything in this universe is filled through and through by your Atman alone. Thus, there is no meditator or meditation in your mind. How is it that you are meditating without any sense of’shame?
26. แท้จริงแล้ว, ทุกสิ่งในจักรวาลเต็มไปด้วยอาตมันของท่านเท่านั้น. ดังนั้น, ไม่มีผู้ทำสมาธิหรือการทำสมาธิในจิตของท่าน. ท่านทำสมาธิโดยปราศจากความอัปยศได้อย่างไร?
Shame —There is a chance of misunderstanding this utterance of Dattatreya. People may think meditation is useless, which is not true. The purpose of meditation is illumination. But Dattatreya was a knower of Brahman, and he instructed from his level of realization. His idea is: A human being by nature is free, and one’s meditation presupposes a shameful forgetfulness of one’s true divine nature.
ความอัปยศ – มีโอกาสที่จะเข้าใจผิดจากคำพูดของทัตตะเตรยะ ผู้คนอาจคิดว่าการทำสมาธินั้นไร้ประโยชน์, ซึ่งไม่จริง. จุดประสงค์ของการทำสมาธิคือการรู้แจ้ง แต่ทัตตะเตรยะได้ตระหนักรู้ถึงพรหมัน, และเขาสอนในระดับของผู้ที่รู้แจ้งแล้ว. แนวคิดของเขาคือ: มนุษย์มีชีวิตตามธรรมชาติเป็นผู้หลุดพ้น, และ สันนิษฐานว่า ผู้ปฏิบัติสมาธิคือผู้อัปยศต่อการหลงลืมธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ของตน.
शिवं न जानामि कथं वदामि
शिवं न जानामि कथं भजामि ।
अहं शिवश्चेत्परमार्थतत्त्वं
समस्वरूपं गगनोपमं च ॥ २७॥
27. How can I speak of or worship that Supreme Beatitude, which I do not know as an object of knowledge? For I myself am that Supreme Beatitude-—the Ultimate Reality, which is full by nature and all-pervading like space.
27. ข้าฯ จะกล่าวถึงหรือบูชาสิ่งสูงสุด, ซึ่งข้าฯ ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งใดได้อย่างไร? สำหรับข้าฯ ตัวข้าฯ เองคือสิ่งสูงสุด – สัจธรรมสูงสุด, ซึ่งเต็มไปด้วยธรรมชาติและแผ่ซ่านไปทั่วเหมือนห้วงอวกาศ.
नाहं तत्त्वं समं तत्त्वं कल्पनाहेतुवर्जितम् ।
ग्राह्यग्राहकनिर्मुक्तं स्वसंवेद्यं कथं भवेत् ॥ २८॥
28. I am not the cosmic principles. I am that selfsame Reality, which is devoid of inference and reason, and free from subject and object. How can I know my Self?
28. ข้าฯ ไม่ใช่หลักการของจักรวาล. ข้าฯ คือสัจธรรมเหมือนตัวข้าฯ เอง, ซึ่งปราศจากการอนุมานและเหตุผล, ไร้เรื่องราวและวัตถุ ข้าฯ จะรู้ถึงอาตมันของข้าฯ ได้อย่างไร?
Cosmic principles —According to Sankhya cosmology there are twenty-four cosmic principles:
- Prakriti (primordial nature)
- Mahat (cosmic intelligence)
- Ahamkara (the ego-sense)
- Manas (the mind)
5-9. Five organs of perception (hearing, touch, sight, taste, and smell)
10-14. Five organs of action (tongue, hands, feet, and the organs of evacuation and generation)
15-19. Five tanmatras (sound-potential, touch- potential, sight-potential, taste-potential, and smell-potential)
20-24. Five grbss elements (space, air, fire, water, and earth)
หลักการของจักรวาล (ทัตวา หรือ พื้นฐานของการดำรงอยู่) ตามหลักปรัชญาสางขยะ ประกอบด้วย 24 ประการ.
1-4 ประกฤติ มหัต อหังการ มนัส หรือ อันตกรณ คือ มนัส พุทธิ จิต อหังการ. 5-9 อวัยวะแห่งผัสสะ ตา หู จมูก สิ้น ผิวสัมผัส. 10-14 อวัยวะแห่งการกระทำ มือ เท้า ปาก ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์. 15-19 ตานมาตรา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส. 20-24 ธาตุทั้งห้า ดิน น้ำ อากาศ ไฟ ที่ว่าง.
Know my Self -—A knower of Brahman destroys the idea of duality, which originates from ignorance. At that time who will see whom? Who will know whom?
รู้ถึงอาตมันของตนเอง – ผู้รู้แจ้งพรหมันทำลายความคิดเรื่องความเป็นคู่, ซึ่งเกิดจากอวิชชา ในเวลานั้นใครจะเห็นใคร? ใครจะรู้ว่าใคร?
अनन्तरूपं न हि वस्तु किंचि -
त्तत्त्वस्वरूपं न हि वस्तु किंचित् ।
किंचित् आत्मैकरूपं परमार्थतत्त्वं
न हिंसको वापि न चाप्यहिंसा ॥ २९॥
29. An object cannot be infinite by nature. Matter cannot be Reality Itself; Truly, the Atman alone is the Supreme Reality. It is neither injurious nor nonviolent.
29. วัตถุไม่เป็นอนันต์โดยธรรมชาติ. สสารไม่อาจเป็นสัจธรรมของตัวเอง; แท้จริงแล้ว, มีเพียงอาตมันเป็นสัจธรรมสูงสุด. มันไม่เป็นอันตรายและไม่รุนแรง.
Neither injurious nor nonviolent —The Katha Upanishad says: “If the killer thinks he kills and if the killed man thinks he is killed, neither of these apprehends aright. The Self kills not, nor is It killed.” (1.2.19)
มันไม่เป็นอันตรายและไม่รุนแรง – กถะ อุปนิษัท[1] กล่าวว่า “ถ้าฆาตกรคิดว่าเขาฆ่า และถ้าคนที่ถูกฆ่าคิดว่าเขาถูกฆ่า, ทั้งสองนั้นไม่เข้าใจ อาตนั้นไม่ฆ่า, และไม่ถูกฆ่า” (1.2.19).
[1] กถะ อุปนิษัท (กฐ-อุปนิษทฺ) ดูโศลกที่ 21
विशुद्धोऽसि समं तत्त्वं विदेहमजमव्ययम् ।
विभ्रमं कथमात्मार्थे विभ्रान्तोऽहं कथं पुनः ॥ ३०॥
30. You are that pure, bodiless, unborn, imperishable, unchanging Reality. How can there be any confusion relating to the Atman? And again, how can you say, “I am confused”?
30. ท่านบริสุทธิ์, ไม่มีร่างกาย, ไม่เกิด, ไม่เสื่อมสลาย, สัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. แล้วท่านจะสับสนเกี่ยวกับอาตมันได้อย่างไร? และอีกครั้ง, ท่านจะกล่าวว่า “ข้าฯ สับสน” ได้อย่างไร?
घटे भिन्ने घटाकाशं सुलीनं भेदवर्जितम् ।
शिवेन मनसा शुद्धो न भेदः प्रतिभाति मे ॥ ३१॥
31. When the jar is broken, the jar-space [that is, the space contained in the jar] becomes completely unified with the undifferentiated space. So also, when the mind becomes purified, it is united with the Supreme Beatitude. Thus, no diversity is perceived by me.
31. เมื่อโถแตก, ที่ว่างในโถ [ที่เคยอยู่ในโถ] กลายเป็นหนึ่งเดียวกับที่ว่างอันไร้ความแตกต่างอย่างสมบูรณ์. ดังนั้น, เมื่อจิตบริสุทธิ์, มันจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับบรมสุขสูงสุด. ดังนั้น, ข้าฯ จึงไม่รับรู้ถึงความแตกต่างหลากหลาย.
न घटो न घटाकाशो न जीवो जीवविग्रहः ।
केवलं ब्रह्म संविद्धि वेद्यवेदकवर्जितम् ॥ ३२॥
32. Distinctions such as jar and jar-space, individual body and individual soul, do not exist in Brahman. Realize that Absolute Brahman, which neither is knowable nor can be made known.
32. ความแตกต่างของโถ และ สิ่งที่บรรจุในโถ, ปัจเจกร่างกายและปัจเจกวิญญาณ, ไม่มีอยู่ในพรหมัน. พึงตระหนักอย่างแท้จริงว่า พรหมันสมบูรณ์, ไม่อาจรู้ได้และไม่สามารถทำให้รู้อีกด้วย.
सर्वत्र सर्वदा सर्वमात्मानं सततं ध्रुवम् ।
ध्रुवम् सर्वं शून्यमशून्यं च तन्मां विद्धि न संशयः ॥ ३३॥
33. The Atman exists always, everywhere, and in everything. It is eternal and unchanging. Everything in this world is void, and again, it is filled with the Atman. Realize: I am that Atman. Do not doubt this.
33. อาตมันมีอยู่เสมอมา, ทุกหนแห่ง, และในทุกสิ่ง. มันเป็นนิรันดร์และไม่เปลี่ยนแปลง. ทุกสิ่งในโลกคือความว่างเปล่า, และอีกครั้ง, มันเต็มไปด้วยอาตมัน. แท้จริงแล้ว, ข้าฯ คืออาตมัน. อย่าสงสัยสิ่งนี้.
वेदा न लोका न सुरा न यज्ञा
वर्णाश्रमो नैव कुलं न जातिः ।
न धूममार्गो न च दीप्तिमार्गो
ब्रह्मैकरूपं परमार्थतत्त्वम् ॥ ३४॥
34. In Brahman there are neither the Vedas nor worlds nor gods nor sacrifices; there are neither stages of life nor castes nor race nor lineage; there is neither the path of smoke nor the path of light. Only the selfsame Brahman, the Supreme Reality, exists.-
34. ในพรหมันไม่มีพระเวทหรือโลกหรือพระเจ้าหรือการเสียสละ; ไม่มีช่วงของชีวิต, ไม่มีวรรณะ, ไม่มีเชื้อชาติ, ไม่มีเชื้อสาย; ไม่มีเส้นทางแห่งควัน, ไม่มีเส้นทางแห่งแสงสว่าง. มีเพียงพรหมันที่เหมือนอาตมัน, สัจธรรมสูงสุด, ที่ดำรงอยู่.
Stages of life —Brahmacharya (life of a student), garhasthya (life of a householder), vanaprastha (life of a recluse), and sannyasa (life of a monk).
ช่วงของชีวิต [อาศรม 4] – พรหมจรรย์ คือชีวิตช่วงการศึกษา, คฤหัสถ์ คือชีวิตช่วงครองเรือน, วนปรัสถ์ คือชีวิตช่วงนักพรต แสวงหาสัจธรรม, สันยาสะ คือชีวิตช่วงนักบวช.
Castes —Brahmin (priest), kshatriya (warrior), vaishya (businessman), and shudra (labourer).
วรรณะ [วรรณะ 4] – พราหมณ์ คือนักบวช, กษัตริย์ คือนักรบ นักปกครอง, แพศย์ คือนักธุรกิจ, และศูทร คือผู้ใช้แรงงาน.
Path of smoke —Smoke, night, the dark half of the moon, and the six months of the southward passage of the sun—taking this path, the soul reaches the lunar path and thence returns to this world to be born again.
เส้นทางแห่งควัน – ควัน, กลางคืน, ครึ่งที่มืดของดวงจันทร์, และหกเดือนทางใต้ของดวงอาทิตย์ – บนเส้นทางนี้, วิญญาณไปถึงวิถีจันทรคติแล้วจึงกลับคืนสู่โลกนี้เพื่อเกิดใหม่.
Path of light —Fire, light, daytime, the bright half of the moon, and the six months of the northward passage of the sun— taking this path, the soul reaches the abode of Brahma and gradually attains liberation. He then does not return to this world for rebirth.
In case the reader is interested in knowing more about the path of smoke and the path of light, the following references are given: (1) Chhandogya Upanishad, 5.10.1-10; (2) Brihadara- nyaka Upanishad, 6.2.15—16; (3) Bhagavad Gita, 8.23-27.
เส้นทางแห่งแสงสว่าง – ไฟ, แสงสว่าง, กลางวัน, ครึ่งที่สว่างของดวงจันทร์ และหกเดือนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของดวงอาทิตย์ – บนเส้นทางนี้, วิญญาณจะไปถึงที่ประทับของพรหมและค่อยๆ บรรลุความหลุดพ้น แล้วไม่กลับคืนสู่โลกนี้เพื่อเกิดใหม่.
ผู้อ่านที่สนใจเรื่องเส้นทางแห่งควันและเส้นทางแห่งแสงสว่าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ฉานโทคยะ อุปนิษัท, 5.10.1-10; พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท, 6.2.15-16; ภควัทคีตา, 8.23-27.
व्याप्यव्यापकनिर्मुक्तः त्वमेकः सफलं यदि ।
प्रत्यक्षं चापरोक्षं च ह्यात्मानं मन्यसे कथम् ॥ ३५॥
35. If you have realized that Absolute One, which is free from the pervader and the pervaded, how can you think of the Atman as perceptible or imperceptible?
35. หากท่านรู้แจ้งถึงความสมบูรณ์หนึ่งเดียว, ซึ่งเป็นอิสระจากผู้รบกวนและแผ่ซ่านไปทั่ว, ท่านจะคิดว่าอาตมันเป็นสิ่งที่มองเห็นได้หรือมองไม่เห็นได้อย่างไร?
अद्वैतं केचिदिच्छन्ति द्वैतमिच्छन्ति चापरे ।
समं तत्त्वं न विन्दन्ति द्वैताद्वैतविवर्जितम् ॥ ३६॥
36. Some prefer to be nondualists while others prefer to be dualists; but none of them truly knows the selfsame Brahman, which is devoid of duality and nonduality.
36. บางคนชอบความไม่เป็นคู่ ในขณะที่คนอื่นชอบความเป็นคู่; แต่ไม่มีใครรู้ถึงพรหมันที่เหมือนกับตัวตนของตัวเองอย่างแท้จริง, ซึ่งปราศจากความเป็นคู่และความไม่เป็นคู่.
श्वेतादिवर्णरहितं शब्दादिगुणवर्जितम् ।
कथयन्ति कथं तत्त्वं मनोवाचामगोचरम् ॥ ३७॥
37. Brahman is free from colours, such as white, blue, and yellow; It is devoid of qualities, such as sound, touch, and smell. How do people describe Brahman, which is beyond mind and speech?
37. พรหมันปราศจากสี, เช่น ขาว, ฟ้า, และเหลือง; มันปราศจากคุณสมบัติ, เช่น เสียง, สัมผัส, และกลิ่น ผู้คนพรรณนาถึงพรหมัน, ซึ่งอยู่เหนือจิตและวาจาได้อย่างไร?
Beyond mind and speech —Although Brahman is beyond mind and speech, It is revealed to the pure mind. The Katha Upanishad says: “The Atman hidden in all beings does not shine forth; but It is seen by subtle seers through their one-pointed and subtle intellects.” (1.3.12)
อยู่เหนือจิตและวาจา – แม้ว่าพรหมันจะอยู่เหนือจิตและวาจา, มันถูกเปิดเผยต่อจิตบริสุทธิ์. กถะ อุปนิษัท กล่าวว่า “อาตมันที่ซ่อนอยู่ในสรรพชีวิตไม่ส่องแสงออกมา แต่ผู้หยั่งรู้ที่ละเอียดอ่อนจะมองเห็นได้ด้วยปัญญาอันแหลมคม” (1.3.12).
यदाऽनृतमिदं सर्वं देहादिगगनोपमम् ।
तदा हि ब्रह्म संवेत्ति न ते द्वैतपरम्परा ॥ ३८॥
38. When everything in this world, including the body, becomes unreal and void like space, then truly one knows Brahman. Then there is no longer any parade of dualities for him.
38. เมื่อทุกสิ่งในโลกนี้, รวมทั้งร่างกาย, กลายเป็นสิ่งที่ไม่จริงและว่างเปล่า, เมื่อนั้น เขาหยั่งรู้ถึงพรหมันอย่างแท้จริง. จากนั้นจะไม่มีขบวนของความเป็นคู่อีกต่อไป.
परेण सहजात्मापि ह्यभिन्नः प्रतिभाति मे ।
व्योमाकारं तथैवैकं ध्याता ध्यानं कथं भवेत् ॥ ३९॥
39. It appears to me that my innate self and the Supreme Self are truly identical and exactly like one continuous space. How can there be a meditator and meditation?
39. สำหรับข้าฯ ดูเหมือนว่า ตัวตนโดยกำเนิด ของข้าฯ และ อาตมันสูงสุด นั้นเหมือนกันอย่างแท้จริงและเหมือนกับที่ว่างที่ต่อเนื่องกัน. แล้วจะมีผู้ทำสมาธิและการทำสมาธิได้อย่างไร?
यत्करोमि यदश्नामि यज्जुहोमि ददामि यत् ।
एतत्सर्वं न मे किंचिद्विशुद्धोऽहमजोऽव्ययः ॥ ४०॥
40. Whatever I do, whatever I eat, whatever I offer in sacrifice, and whatever I give away— none of these belong to me. I am ever pure, unborn, and immutable.
40. สิ่งที่ข้าฯ กระทำ, สิ่งที่ข้าฯ กิน, สิ่งที่ข้าฯ ถวายเป็นเครื่องบูชา, และสิ่งที่ข้าฯ ให้ไป – ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าฯ ข้าฯ บริสุทธิ์ตลอดกาล, ไม่เกิด, และไม่เปลี่ยนแปลง.
सर्वं जगद्विद्धि निराकृतीदं
सर्वं जगद्विद्धि विकारहीनम् ।
सर्वं जगद्विद्धि विशुद्धदेहं
सर्वं जगद्विद्धि शिवैकरूपम् ॥ ४१॥
41. Know all this universe to be formless. Know all this universe to be devoid of transformation. Know all this universe to be pure existence itself. Know all this universe to be of the nature of the Supreme Beatitude.
41. รู้ว่าจักรวาลนี้ไม่มีรูป. รู้ว่าจักรวาลนี้ปราศจากการเปลี่ยนแปลง. รู้ว่าจักรวาลนี้บริสุทธิ์ดำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง. รู้ว่าสรรพสิ่งในจักรวาลนี้เป็นธรรมชาติของผู้เป็นสุขสูงสุด.
मायाऽमाया कथं तात छायाऽछाया न विद्यते ।
तत्त्वमेकमिदं सर्वं व्योमाकारं निरञ्जनम् ॥ ४३॥
42. Undoubtedly you are that Supreme Reality. Why then do you think thus: “Do I know the Atman, or do I not?” Or, “Is It a matter of experience, or is It incomprehensible?”
42. ไม่ต้องสงสัยเลยว่าท่านคือความจริงสูงสุด. เหตุใดท่านจึงคิดเช่นว่า “ข้าฯ รู้จักอาตมัน หรือข้าฯ ไม่รู้จัก?” หรือ “มันเป็นเรื่องของประสบการณ์, หรือว่าเข้าใจยาก?”
तत्त्वं त्वं न हि सन्देहः किं जानाम्यथवा पुनः ।
असंवेद्यं स्वसंवेद्यमात्मानं मन्यसे कथम् ॥ ४२॥
43. O my dear, as darkness and light cannot remain together, so how can ignorance and knowledge be in Brahman? All this is that one, spotless, formless Reality.
43. ท่านผู้เป็นที่รัก, ในเมื่อความมืดและแสงสว่างไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้, เช่นนั้นแล้วอวิชชาและความรู้จะอยู่ในพรหมันได้อย่างไร? ทั้งหมดนี้เป็นความจริงแท้หนึ่งเดียว, ไร้มลทิน, และไร้รูปแบบ.
आदिमध्यान्तमुक्तोऽहं न बद्धोऽहं कदाचन ।
स्वभावनिर्मलः शुद्ध इति मे निश्चिता मतिः ॥ ४४॥
44. I am without beginning, middle, and end. I am never bound. By nature I am pure and perfect—this is my firm conviction.
44. ข้าฯ ไม่มีจุดเริ่มต้น, ท่ามกลาง, และจุดจบ ข้าฯ ไม่เคยผูกพัน. โดยธรรมชาติข้าฯ บริสุทธิ์และสมบูรณ์แบบ—นี่คือความเชื่อมั่นที่แน่วแน่ของข้าฯ.
महदादि जगत्सर्वं न किंचित्प्रतिभाति मे ।
ब्रह्मैव केवलं सर्वं कथं वर्णाश्रमस्थितिः ॥ ४५॥
45. Nothing is perceived by me—from the cosmic intelligence down to the manifested universe. Truly, all this is Brahman. How can there be any continuance of caste and stages of life?
45. ข้าฯ ไม่รับรู้สิ่งใด—ตั้งแต่สติปัญญาของจักรวาลลงไปจนถึงจักรวาลที่ประจักษ์. แท้จริงแล้ว, ทั้งหมดนี้เป็นพรหมัน. แล้วจะมีความต่อเนื่องของวรรณะและอาศรม (ช่วงชีวิต) ได้อย่างไร?
जानामि सर्वथा सर्वमहमेको निरन्तरम् ।
निरालम्बमशून्यं च शून्यं व्योमादिपञ्चकम् ॥ ४६॥
46. I know in every way that I am the sole Reality, all-pervasive, independent, and ever existent. The five elements—space, air, fire, water, and earth—are all unreal.
46. ข้าฯ รู้ในทุกทางว่า ข้าฯ คือสัจธรรมเพียงสิ่งเดียว, แผ่ซ่านไปทั่ว, เป็นอิสระ, และดำรงอยู่นิรันดร์. ธาตุทั้งห้า – ที่ว่าง, อากาศ, ไฟ, น้ำ, และดิน – ทั้งหมดนั้นล้วนไม่จริง.
न षण्ढो न पुमान्न स्त्री न बोधो नैव कल्पना ।
सानन्दो वा निरानन्दमात्मानं मन्यसे कथम् ॥ ४७॥
47. The Atman is neither male nor female nor neuter. It is not a matter of perception or inference. Why then do you ponder over whether the Atman is blissful or devoid of bliss?
47. อาตมันไม่ใช่ทั้งชายและหญิงและไม่ระบุเพศ. ไม่ใช่เรื่องของการรับรู้หรือการอนุมาน. เหตุใดท่านจึงไตร่ตรองว่าอาตมันเป็นสุขหรือปราศจากความสุข?
Neither male nor female —The Atman, the pure consciousness, is the real nature of all beings. It is sexless. The conception of sex pertains to the body, but the Atman is hot the body. The Svetasvatara Upanishad says: “Thou art woman, Thou art man; Thou art youth and maiden too. Thou as an old man totterest along on a staff; it is Thou alone who, when born, assumest diverse forms.” (4.3)
ไม่ใช่ทั้งชายและหญิง – อาตมัน, จิตสำนึกอันบริสุทธิ์, เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง. มันไร้เพศ. เรื่องเพศเป็นหลักการของร่างกาย, แต่อาตมันมิใช่ร่างกาย. เศฺวตาศฺวตร-อุปนิษทฺ กล่าวว่า “ท่านคือหญิง, ท่านคือชาย; ท่านคือวัยรุ่นและหญิงสาวด้วยเช่นกัน ท่านเป็นเช่นคนชราที่ถือไม้เท้า; คือท่านเท่านั้น, เมื่อถือกำเนิด, ก็มีรูปที่สมมุติขึ้นอันหลากหลาย” (4.3).
The Atman is blissful —According to the Vedanta philosophy, bliss is the essence of existence. Brahman is bliss and is the source of things. “For whp, indeed, could live, who breathe, if there were not this bliss in space [that is, in the heart]?”
(Taittiriya Upanishad, 2.7) อาตมันเป็นสุข – ตามปรัชญาเวทานตะ, ความสุขคือแก่นแท้ของการดำรงอยู่. พรหมันเป็นสุขและเป็นบ่อเกิดของสิ่งต่างๆ. “ใครก็ตาม, ที่ยังหายใจ, จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร, ถ้าเขาไม่มีความสุขภายในนั้น [นั่นคือ, ในจิตใจ]?” (ไตตฺติรีย-อุปนิษทฺ, 2.7).
षडङ्गयोगान्न तु नैव शुद्धं
मनोविनाशान्न तु नैव शुद्धम् ।
गुरूपदेशान्न तु नैव शुद्धं
स्वयं च तत्त्वं स्वयमेव बुद्धम् ॥ ४८॥
48. The Atman cannot be purified through the’ practice of the six limbs of yoga, or through the annihilation of the mind, or through the instruction of a teacher. The Atman is the Reality Itself and It is Purity Itself.
48. ไม่สามารถชำระอาตมันให้บริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติโยคะทั้งหก, หรือด้วยการทำลายล้างจิต (ดับจิต), หรือด้วยคำสอนของคุรุ. อาตมันคือความจริงของตัวเองและบริสุทธิ์ในตัวเอง.
Six limbs of yoga —The six practices of Hatha Yoga, such as cleaning the stomach, fixing the gaze on a particular object, or an exercise consisting of alternate suppression and emission of breath.
โยคะทั้งหก – หกวิธีปฏิบัติของหฐโยคะ, เช่น การทำความสะอาดท้อง การเพ่งมองวัตถุ หรือการออกกำลังกายด้วยการกลั้นและปล่อยลมหายใจสลับกัน.
Instruction of a teacher -—The Atman is ever pure and self-luminous, but It is covered by ignorance. The instruction of the teacher helps to remove ignorance from the mind of the disciple and thus he realizes his own Self.
คำสอนของคุรุ – อาตมันบริสุทธิ์ตลอดกาลและส่องสว่างด้วยตัวเอง, แต่มันถูกปกคลุมด้วยอวิชชา. คำสอนของคุรุช่วยขจัดอวิชชาจากจิตใจของศิษย์และทำให้เขาตระหนักรู้ถึงอาตมันของตนเอง.
न हि पञ्चात्मको देहो विदेहो वर्तते न हि ।
आत्मैव केवलं सर्वं तुरीयं च त्रयं कथम् ॥ ४९॥
49. The Atman neither has a body of five elements, nor is It without a body. Truly, everything is the Atman. How can the three states, and the Fourth, be ascribed to the Atman?
49. อาตมันไม่มีทั้งร่างกาย, ไม่มีทั้งห้าธาตุองค์ประกอบ. แท้จริงแล้ว, สรรพสิ่งคืออาตมัน. แล้วจะนิยามอาตมันด้วยสภาวะทั้งสาม, และสี่ ได้อย่างไร?
The three states —The Vedanta scriptures have elaborately discussed the three states of the soul. They are the waking state, the dream state, and the dreamless sleep state. These cover the totality of the soul’s experiences in the relative world.
สภาวะทั้งสาม – คัมภีร์พระเวทได้อภิปรายถึงสภาวะทั้งสามของจิตวิญญาณอย่างละเอียดถี่ถ้วน. สภาวะทั้งสามคือ สภาวะตื่น สภาวะฝัน และสภาวะหลับไม่ฝัน. สิ่งเหล่านี้ครอบคลุมประสบการณ์ทั้งหมดของจิตวิญญาณในโลกที่สัมพันธ์กัน.
The Fourth —It is called the Fourth in relation to the three states of consciousness, namely, waking, dreaming, and sleeping. It is the Absolute, or Turiya, state which is beyond maya.
สภาวะที่สี่ – สภาวะที่สี่เกี่ยวเนื่องกับสภาวะทั้งสาม (คือ ตื่น ฝัน และหลับไม่ฝัน). สภาวะที่สี่คือ สภาวะสัมบูรณ์หรือ ทุริยา ซึ่งอยู่เหนือมายา.
न बद्धो नैव मुक्तोऽहं न चाहं ब्रह्मणः पृथक् ।
न कर्ता न च भोक्ताहं व्याप्यव्यापकवर्जितः ॥ ५०॥
50. Truly, I am neither bound nor free nor separated from Brahman. I am neither the doer nor the enjoyer, neither the pervader nor the pervaded.
50. แท้จริงแล้ว, ข้าฯ มิได้ผูกพันและไม่เป็นอิสระ อีกทั้งมิได้แยกจากพรหมัน. ข้าฯ มิได้เป็นทั้งผู้กระทำและผู้เสวยผล, ไม่ได้เป็นทั้งผู้เผยแพร่และมิได้เป็นสิ่งที่แผ่ซ่านไป.
यथा जलं जले न्यस्तं सलिलं भेदवर्जितम् ।
प्रकृतिं पुरुषं तद्वदभिन्नं प्रतिभाति मे ॥ ५१॥
51. As water mixed with water remains the same undifferentiated water, so prakriti [matter] and Purusha [Spirit] both appear identical to me.
51. เฉกเช่นน้ำที่ผสมกับน้ำ ก็ยังเป็นน้ำที่ไม่แตกต่างกัน, ดังนั้น ประกฤติ (สสาร) และ ปุรุษะ (วิญญาณ) ทั้งคู่นั้นเป็นสิ่งที่เหมือนกันสำหรับข้าฯ.
यदि नाम न मुक्तोऽसि न बद्धोऽसि कदाचन ।
साकारं च निराकारमात्मानं मन्यसे कथम् ॥ ५२॥
52. If you are not free, indeed, then neither are you ever bound. How then can you think of yourself as with form [when bound] or as formless [when liberated]?
52. หากท่านมิได้เป็นอิสระ, อันที่จริงแล้ว, ท่านก็ไม่เคยถูกผูกมัด. แล้วท่านคิดว่าตัวท่านเองมีรูป [เมื่อถูกผูกมัด] หรือไร้รูป [เมื่อหลุดพ้น] ได้อย่างไร?
जानामि ते परं रूपं प्रत्यक्षं गगनोपमम् ।
यथा परं हि रूपं यन्मरीचिजलसन्निभम् ॥ ५३॥
53. I know your supreme form, which is ever present and all-pervading like space. Similarly, I know your inferior form, which is indeed like water in a mirage.
53. ข้าฯ รู้ถึงรูปสูงสุดของท่าน, ซึ่งเคยมีอยู่และแผ่ซ่านไปทั่วเหมือนอวกาศ. ในทำนองเดียวกัน ข้าฯ รู้ถึงรูปที่ต่ำต้อยของท่าน, ซึ่งแท้จริงแล้ว เหมือนน้ำในภาพลวงตา.
न गुरुर्नोपदेशश्च न चोपाधिर्न मे क्रिया ।
विदेहं गगनं विद्धि विशुद्धोऽहं स्वभावतः ॥ ५४॥
54. I have neither guru nor instruction, neither attributes nor action. Know for certain I am incorporeal like space and absolutely pure by nature.
54. ข้าฯ ไร้คุรุและคำสอน, ไม่มีทั้งคุณสมบัติและการกระทำ. รู้อย่างแน่นอนว่าข้าฯ ไร้รูปเหมือนที่ว่างและบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์โดยธรรมชาติ.
विशुद्धोऽस्य शरीरोऽसि न ते चित्तं परात्परम् ।
अहं चात्मा परं तत्त्वमिति वक्तुं न लज्जसे ॥ ५५॥
55. You are absolutely pure. You are without any body and mind, and beyond maya. Do not be ashamed to say, “I am the Atman—the Supreme Reality.”
55. ท่านบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์. ท่านปราศจากร่างกายและจิตใจ, และอยู่เหนือมายา. อย่าอายที่จะกล่าวว่า “ข้าฯ คืออาตมัน – สัจธรรมสูงสุด”.
कथं रोदिषि रे चित्त ह्यात्मैवात्मात्मना भव ।
पिब वत्स कलातीतमद्वैतं परमामृतम् ॥ ५६॥
56. O mind, why do you weep? You are truly the Atman. Be one with It. Drink, O my dear, the supreme nectar of the boundless ocean of nondual Brahman.
56. ร้องไห้ไปใย, ใจเอ๋ย? แท้จริงท่านคืออาตมัน. จงเป็นหนึ่งเดียวกับมัน. โอ ที่รัก, จงดื่มน้ำหวานที่ดี่ที่สุดจากมหาสมุทรไร้ขอบเขตแห่งพรหมันอันไร้ความเป็นคู่.
नैव बोधो न चाबोधो न बोधाबोध एव च ।
यस्येदृशः सदा बोधः स बोधो नान्यथा भवेत् ॥ ५७॥
57. In the Atman there is neither knowledge nor ignorance nor the combination of the two. He who always has this knowledge becomes knowledge Itself and nothing else.
57. ในอาตมันไม่มีทั้งความรู้และอวิชชาและการรวมกันของทั้งสองสิ่ง. ผู้ที่มีความรู้นี้และความรู้นี้กลายเป็นความรู้ในตัวเองอยู่เสมอและไม่มีสิ่งอื่น.
Combination of the two —According to a Ritualistic school, knowledge and ignorance can coexist as we see both light and darkness in a firefly. In its view, a person can perform ritualistic action even after illumination. The school of Advaita Vedanta, however, does not agree with this. It says that knowledge and ignorance, like day and night, cannot coexist.
การรวมกันของทั้งสอง – ตามสถานศึกษาที่ยึดถือศาสนพิธี, ความรู้และอวิชชาสามารถอยู่ร่วมกันได้ ดั่งเช่นเราเห็นทั้งแสงสว่างและความมืดจากหิ่งห้อย. ในทรรศนะนี้, บุคคลสามารถทำพิธีได้แม้จะรู้แจ้งแล้ว. อย่างไรก็ตาม, สถานศึกษาของ อไทฺวตะ เวทานตะ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดข้างต้น. แต่เห็นว่าความรู้และอวิชชา, เหมือนกลางวันกับกลางคืน, ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้.
This knowledge —That is, the knowledge of the Self. The Mundaka Upanishad says, “The knower of Brahman becomes Brahman.” (3.2.9)
ความรู้นี้ – คือความรู้เกี่ยวกับอาตมัน. มุณฺฑก-อุปนิษทฺ กล่าวว่า “ผู้รู้ถึงพรหมันย่อมเป็นพรหมัน” (3.2.9).
ज्ञानं न तर्को न समाधियोगो
न देशकालौ न गुरूपदेशः ।
स्वभावसंवित्तरहं च तत्त्व -
माकाशकल्पं सहजं ध्रुवं च ॥ ५८॥
58. Self-knowledge does not depend upon reasoning or the practice of meditation or the instruction of a guru or anything in space and time. I am by nature that absolute Knowledge, the Reality which is innate, eternal, and boundless as space.
58. ความรู้เกี่ยวกับอาตมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้เหตุผล หรือการฝึกสมาธิ หรือคำสอนของคุรุ หรืออะไรก็ตามในสถานที่และเวลาใดๆ. ข้าฯ คือความรู้อันสมบูรณ์ตามธรรมชาติ, ความจริงซึ่งมีมาแต่กำเนิด, เป็นนิรันดร์ และไร้ขอบเขตเช่นห้วงอวกาศ.
न जातोऽहं मृतो वापि न मे कर्म शुभाशुभम् ।
विशुद्धं निर्गुणं ब्रह्म बन्धो मुक्तिः कथं मम ॥ ५९॥
59. I was never born and I will never die. Neither do I perform any action—good or bad. I am that pure, attributeless Brahman. How can there be bondage or liberation for me?
59. ข้าฯ ไม่เคยเกิดและจะไม่มีวันตาย. ข้าฯ ไม่กระทำอะไรเลย-ทั้งดีและชั่ว. ข้าฯ บริสุทธิ์เช่นพรหมันอันไร้คุณสมบัตินั้น. แล้วข้าฯ จะมีพันธะหลุดพ้นได้อย่างไร?
यदि सर्वगतो देवः स्थिरः पूर्णो निरन्तरः ।
अन्तरं हि न पश्यामि स बाह्याभ्यन्तरः कथम् ॥ ६०॥
60. When Brahman is omnipresent, luminous, motionless, full, and continuous, I do not see any diversity. How can It be inside or outside?
60. เมื่อพรหมันอยู่ทุกหนแห่ง, สว่างไสว, ไม่เคลื่อนไหว, เติมเต็ม, และต่อเนื่อง, ข้าฯ ไม่เห็นความหลากหลายใดๆ. แล้วมันจะอยู่ภายในหรือภายนอกได้อย่างไร?
स्फुरत्येव जगत्कृत्स्नमखण्डितनिरन्तरम् ।
अहो मायामहामोहो द्वैताद्वैतविकल्पना ॥ ६१॥
61. The whole universe appears to me as an indivisible, uninterrupted entity. Ah, what a terrible delusion of maya has created the distinction between duality and nondualitv!
61. จักรวาลทั้งมวลปรากฏแก่ข้าเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไม่อาจแบ่งแยกได้. อา!, ช่างเป็นภาพลวงตาของมายาที่เลวร้ายจริงๆ ที่สร้างความแตกต่างระหว่างสิ่งคู่และไร้สิ่งคู่!
साकारं च निराकारं नेति नेतीति सर्वदा ।
भेदाभेदविनिर्मुक्तो वर्तते केवलः शिवः ॥ ६२॥
62. The object, either with form or without form, is always negated by saying, “Not this, not this.” Only the Supreme Beatitude, which is free from difference and sameness, exists.
62. วัตถุใดๆ, ไม่ว่าจะมีรูปหรือไร้รูป, ต้องถูกปฏิเสธโดยกล่าวว่า, “ไม่ใช่สิ่งนี้, ไม่ใช่สิ่งนี้”. มีเพียงบรมสุขสูงสุด, ซึ่งเป็นอิสระจากความแตกต่างและความเหมือนเท่านั้นที่ดำรงอยู่.
न ते च माता च पिता च बन्धुः
न ते च पत्नी न सुतश्च मित्रम् ।
न पक्षपाती न विपक्षपातः
कथं हि संतप्तिरियं हि चित्ते ॥ ६३॥
63. You have neither mother nor father nor relative nor wife nor child nor friend. Neither have you any partiality or impartiality. Why then is there so much suffering in your mind?
63. ท่านไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีญาติ ไม่มีภรรยา ไม่มีบุตร ไม่มีเพื่อน. ท่านไม่มีความลำเอียง ไม่มีความยุติธรรม. แล้วเหตุใดจึงมีความทุกข์มากมายในใจท่าน?
दिवा नक्तं न ते चित्तं उदयास्तमयौ न हि ।
विदेहस्य शरीरत्वं कल्पयन्ति कथं बुधाः ॥ ६४॥
64. O mind, there is no day or night for you, nor rise nor fall. How can the wise imagine a bodiless being to have a body?
64. โอ ใจเอ๋ย, ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืนสำหรับท่าน, ไม่มีขึ้น ไม่มีตก. แล้วผู้มีปัญญาจะนึกภาพร่างกายของสิ่งที่ไร้ร่างกายได้อย่างไร?
नाविभक्तं विभक्तं च न हि दुःखसुखादि च ।
न हि सर्वमसर्वं च विद्धि चात्मानमव्ययम् ॥ ६५॥
65. Realize the immutable Atman, which is neither the whole nor the part, neither undivided nor divided. It is beyond happiness and misery.
65. รู้แจ้งถึงอาตมันอันไร้การเปลี่ยนแปลง, ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมดหรือบางส่วน, ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกได้. มันอยู่เหนือความสุขและความทุกข์.
नाहं कर्ता न भोक्ता च न मे कर्म पुराऽधुना ।
न मे देहो विदेहो वा निर्ममेति ममेति किम् ॥ ६६॥
66. I am neither the doer nor the enjoyer. There is no past or present action in me. Since I have no idea of body or of bodilessness, how can I say that it is mine or not mine?
66. ข้าฯ มิใช่ทั้งผู้กระทำและผู้เสวยผล. ไม่มีการกระทำในอดีตหรือปัจจุบันในตัวข้าฯ. เพราะข้าฯ ไม่มีแนวคิดเรื่องร่างกายหรือไม่มีร่างกาย, แล้วข้าฯ จะกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นของข้าฯ หรือ ไม่เป็นของข้าฯ ได้อย่างไร?
न मे रागादिको दोषो दुःखं देहादिकं न मे ।
आत्मानं विद्धि मामेकं विशालं गगनोपमम् ॥ ६७॥
67. I am free from such weaknesses as passion, anger, and so on. I am free from misery pertaining to the body, the mind, and so on. Know that I am that Atman, which is one and vast as space.
67. ข้าฯ เป็นอิสระจากความอ่อนแอเช่นกิเลส, ความโกรธ, และอื่นๆ. ข้าฯ เป็นอิสระจากความทุกข์เกี่ยวกับร่างกาย, จิต, และอื่นๆ. พึงรู้ว่าข้าฯ คือ อาตมันนั้น, เป็นหนึ่งเดียวและกว้างใหญ่ไพศาล.
सखे मनः किं बहुजल्पितेन
सखे मनः सर्वमिदं वितर्क्यम् ।
वितर्क्यम् यत्सारभूतं कथितं मया ते
त्वमेव तत्त्वं गगनोपमोऽसि ॥ ६८॥
68. My friend mind, what is the use of so much idle talk? My friend mind, all this is a matter of conjecture. I have told you what is the quintessence: You are indeed the Reality— boundless as space.
68. สหายทางจิตของข้าฯ, อะไรคือประโยชน์ของการพูดไร้สาระมากเกินไป? สหายทางจิตของข้าฯ, ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องคาดคะเน. ข้าฯ ได้บอกท่านแล้วว่าอะไรคือแก่นสาร: ท่านคือสัจธรรมที่แท้จริง – ไร้ขอบเขตเช่นอวกาศ.
येन केनापि भावेन यत्र कुत्र मृता अपि ।
योगिनस्तत्र लीयन्ते घटाकाशमिवाम्बरे ॥ ६९॥
69. In whatever way and in whatever place the yogis die, they merge into Brahman, as the jar-space is united with the limitless space when the jar is broken.
69. โยคีที่ตายแล้วไปทางไหนและไปที่ใด, เขารวมเข้าสู่พรหมัน, เฉกเช่นที่ว่างในโถ เป็นหนึ่งเดียวกับที่ว่างอันไร้ขอบเขตเมื่อโถแตก.
तीर्थे चान्त्यजगेहे वा नष्टस्मृतिरपि त्यजन् ।
समकाले तनुं मुक्तः कैवल्यव्यापको भवेत् ॥ ७०॥
70. A yogi may die in a holy place or in the house of an untouchable, or he may even die in a coma; but no sooner does he give up the body than he becomes one with the Absolute Brahman.
70. โยคีอาจตายในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือในบ้านของจัณฑาล, หรือเขาอาจตายในภาวะโคม่า, แต่ในไม่ช้าเขาจะสละร่างกายและกลายเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมันสมบูรณ์.
धर्मार्थकाममोक्षांश्च द्विपदादिचराचरम् ।
मन्यन्ते योगिनः सर्वं मरीचिजलसन्निभम् ॥ ७१॥
71. The yogis consider everything—duty, wealth, objects of enjoyment, liberation, and all movable and immovable things, such as men, trees, and so on—as water in a mirage.
71. โยคีพิจารณาทุกสิ่ง – หน้าที่, ความมั่งคั่ง, วัตถุแห่งความหรรษา, การหลุดพ้น, และทุกสิ่งที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่, คนเหล่านั้น, ต้นไม้, และอื่นๆ – ว่าเป็นเช่นน้ำในภาพลวงตา.
अतीतानागतं कर्म वर्तमानं तथैव च ।
न करोमि न भुञ्जामि इति मे निश्चला मतिः ॥ ७२॥
72. I did not perform actions in the past, nor do I perform actions in the present, nor shall I perform actions in the future. Neither did I, nor do I, nor shall I enjoy their respective fruits. This is my firm conviction.
72. ข้าฯ ไม่ได้กระทำกรรมในอดีต, ไม่กระทำกรรมในปัจจุบัน, และจะไม่กระทำกรรมในอนาคต. ทั้งไม่เคยทำ, ไม่ทำ, และจะไม่เสวยผลแห่งการกระทำที่ตามมา. นี้คือความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าของข้าฯ.
शून्यागारे समरसपूत
स्तिष्ठन्नेकः सुखमवधूतः ।
चरति हि नग्नस्त्यक्त्वा गर्वं
विन्दति केवलमात्मनि सर्वम् ॥ ७३॥
73. The Avadhuta lives happily alone in a secluded place, purified by the uninterrupted bliss of Brahman. Renouncing the ego, the mendicant Avadhuta moves about and finds everything within his own Self.
73. อวธูตะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามลำพังในที่สงัด, บริสุทธิ์ด้วยความสุขอันไม่ขาดสายของพรหมัน. ละทิ้งอัตตา, วณิพกอวธูตะจาริกเพื่อแสวงหาทุกสิ่งในอาตมันของตนเอง.
त्रितयतुरीयं नहि नहि यत्र
विन्दति केवलमात्मनि तत्र ।
धर्माधर्मौ नहि नहि यत्र
बद्धो मुक्तः कथमिह तत्र ॥ ७४॥
74. Where there is no threefold state, nor even the Fourth [Transcendental], there one attains the Absolute Atman. Where there is neither virtue nor vice, how can there be bondage or liberation?
74. ที่ซึ่งไร้สภาวะทั้งสาม, ไม่มีแม้สภาวะที่สี่ [ทุริยา-ข้ามพ้นแล้ว], คือที่ซึ่งบุคคลได้บรรลุถึงอาตมันสมบูรณ์. ที่ซึ่งไม่มีทั้งคุณธรรมหรือความชั่ว, แล้วที่นั่นจะมีพันธะหรือการหลุดพ้นได้อย่างไร?
विन्दति विन्दति नहि नहि मन्त्रं
छन्दोलक्षणं नहि नहि तन्त्रम् ।
समरसमग्नो भावितपूतः
प्रलपितमेतत्परमवधूतः ॥ ७५॥
75. One cannot attain Brahman through the repetition of mantras or the recitation of the Vedas or the practice of tantric rites. The great Avadhuta, after purifying himself through meditation and becoming absorbed in the uninterrupted bliss of Brahman, has sung this Gita spontaneously.
75. คนผู้หนึ่งไม่สามารถบรรลุถึงพรหมันได้ด้วยการทำซ้ำๆ เช่น ท่องมนตรา การอ่านพระเวท หรือพิธีบูชา. อวธูตะผู้ยิ่งใหญ่, หลังจากชำระพระองค์ให้บริสุทธิ์ผ่านการทำสมาธิและดื่มด่ำอยู่ในนิรามิสสุขอันต่อเนื่องของพรหมัน, พระองค์ขับร้องคีตานี้อย่างเป็นธรรมชาติ.
सर्वशून्यमशून्यं च सत्यासत्यं न विद्यते ।
स्वभावभावतः प्रोक्तं शास्त्रसंवित्तिपूर्वकम् ॥ ७६॥
76. Everything is void and at the same time full. There is neither truth nor falsehood in Brahman. This is narrated by the Avadhuta from his own experience, and also according to his knowledge of the scriptures.
76. สรรพสิ่งว่างเปล่าและเต็มในเวลาเดียวกัน. ไม่มีทั้งจริงหรือเท็จในพรหมัน. สิ่งนี้ถูกเล่าขานโดยอวธูตะจากประสบการณ์ของพระองค์เอง, และตามความรู้ของพระองค์จากคัมภีร์ด้วย.
इति प्रथमो ध्यायः ॥ १॥
Here ends the first chapter of the Avadhuta Gita of Dattatreya entitled “Self-Knowledge.”
จบบทแรกของ อวธูตะคีตา แห่ง ทัตตะเตรยะ ในหัวข้อ “ความรู้เรื่องอาตมัน”