อภิธานศัพท์
อภิธานศัพท์
หมวดที่ 1 : อักษร ก-ธ
Glossory of Ribhu Gita by Tandhava
กรรม 3 ประการ
กรรมหมายถึง การกระทำ หรือ ผลของการกระทำ กรรม 3 ประการคือ
- สันชิตะกรรม ผลตกค้างของกรรมปัจจุบัน หรือชาติก่อน แต่แฝงอยู่ระหว่างชาตินี้
- อกามิกรรม ผลการกระทำของชาตินี้ ที่จะเติบโตไปตามปกติ
- ปรารภกรรม ผลตกค้างของการกระทำที่กำลังส่งผล และเริ่มทำงานระหว่างชาติปัจจุบัน
บางครั้งกล่าวกันว่า สันชิตะกรรม จะถูกทำลายเมื่อตระหนักรู้ถึงอาตมัน หรือ ทั้ง สันชิตะกรรมและอกามิกรรม จะถูกทำลายเมื่อตระหนักรู้ถึงอาตมัน
แต่ มหาศรี และ ศรีสังกรา กล่าวว่า การหลุดพ้นนั้น จะหลุดพ้นจากกรรมทั้ง 3 ประการ
คำว่ากรรมนี้ยังใช้เพื่อแสดงถึงการกระทำด้วยตัวเอง
- กรรมยะกรรม (การกระทำที่เลือกได้) เป็นการกระทำที่หวังผล ;
- นิตยกรรม หน้าที่ที่ต้องกระทำประจำวัน เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำ เช่นการสวดมนต์ตอนค่ำ ;
- ไนมิตติกะกรรม การกระทำที่เป็นภาระผูกพันเป็นครั้งคราว เช่น การทำพิธีกรรมการเกิดของบุตร ;
- ประทิชิทธะกรรม การกระทำต้องห้าม เช่น การฆ่า หรือทำอันตรายสิ่งมีชีวิต
การแบ่งประเภทของกรรม คือ
- โลกียะกรรม กรรมของฆราวาส และ
- ไวทิกะ กรรมอันศักดิ์สิทธิ์
โกสะ 5 ประการ ปัญจะโกสะ
เปลือกทั้ง 5 ประการ (ปัญจะโกสะ) ของมนุษย์ ตั้งแต่ภายนอกจนถึงภายใน ชั้นที่ลึกเข้าไปจะมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น
- อันนามายะ โกสะ เปลือกแห่งกายภาพ
- ปราณามายะ โกสะ เปลือกแห่งปราณ หรือ ลมปราณ และ ระบบประสาท เรียกว่า เปลือกแห่งสรีระหรือพลังงาน
- มโนมายะ โกสะ เปลือกแห่งรูปแบบของความปรารถนาและแรงจูงใจ มีรูปแบบซับซ้อน เรียกว่าเปลือกแห่งจิต
- วิชญานามายะ โกสะ เปลือกแห่งพุทธิ และ ความรู้สติปัญญา เรียกว่า เปลือกแห่งปัญญา
- อนันตมายะ โกสะ เปลือกของการรู้แจ้ง เรียกว่า เปลือกแห่งบรมสุข
ปัญจะโกสะ นั้น ถูกจับกลุ่มเป็น กาย 3 ประการ (ตรีกายา)
- กายหยาบ (สถุลสรีระ) คือเปลือกชั้นที่ 1 อันนามายะ โกสะ ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 ที่แบ่งสัดส่วนกัน
- กายละเอียด (สุขุมสรีระ) คือเปลือกชั้นที่ 2, 3 และ ชั้นที่ 4
- กายทิพย์ (การณะสรีระ) คือเปลือกชั้นที่ 5 และเป็นเหตุให้เกิดกายละเอียดและกายหยาบ
ตามอัทไวตะ เปลือกของการรู้แจ้งเป็นซองที่ผนึกไว้ในอวิชชา (ความหลงผิด) หรือมีการกล่าวว่า เปลือกของการรู้แจ้ง นั้นเป็นอนันต์ โปร่งใส, สมบูรณ์ และเป็นแก่นแท้ของอาตมัน
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงองค์ประกอบของร่ายกาย 6 ประการ ซึ่งบางครั้งในคีตาจะเรียกว่า เปลือกทั้ง 6 (อย่าสับสนกับเปลือกทั้ง 5) ซึ่งหมายถึง
- ไขกระดูก
- กระดูก
- อสุจิ
- เลือด
- ผิวหนัง
- เนื้อ
กระต่ายบนดวงจันทร์
กระต่ายบนดวงจันทร์ วลีที่พาดพิงถึงจุดหรือเงาบนผิวดวงจันทร์ที่มองเห็นได้ด้วยตา
การกระทำ 5 ประการ
การกระทำ 5 ประการของพระผู้เป็นเจ้า คือ
- ศรีศติ (การสร้าง)
- สฐิติ (การธำรงรักษา)
- สัมหระ (การทำลาย)
- ติโรธนะ (การทำให้หายไป)
- อนุเคราะห์ (การสร้างใหม่ การเปิดเผยหรือให้พรแก่มนุษย์ เพื่อให้ตระหนักความจริง พ้นจากมายา)
การเชื่อมต่อ 3 ประการ
- การเชื่อมต่อกัน
- ความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้
- เป็นหนึ่งเดียวกัน
กังวล 6 ประการ หรือ ความทุกข์ 6
- ความหิว
- ความกระหาย
- ความเสียใจ
- ความสิ้นหวัง
- ความชรา
- ความตาย
การเปลี่ยนแปลง 6 ประการ
สภาวะ (การเปลี่ยนแปลง) ทั้ง 6 ที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในภาพลวงตา (มายา) คือ
- เกิดขึ้น
- ดำรงอยู่
- เติบโต
- วุฒิภาวะ
- เสื่อมถอย
- มรณา (ตาย)
การส่งเสริม 4 ประการ
- ประการวิชญา – สาระ
- ปราโยชนะ – เป้าหมาย
- สัมพันธะ – ความสัมพันธ์
- อธิการิน – บุคคล (หมายถึงเพื่อบุคคลใด)
การสนับสนุน 6 ประการ
การสนับสนุน 6 หรือ 6 จักระ หรือ ศูนย์กลางในเส้นกุณฑาลินี ประกอบด้วย
- มุลาทาระ เกาะกันเป็นก้อน ติดต่อกัน กระตุ้นความรู้สึกของกลิ่น
- สวาธิศธานะ การหดตัว กระตุ้นความรู้สึกของรส
- มณีปุระ ขยายออก, สร้างความร้อน กระตุ้นการมองเห็นสีและรูปร่าง
- อนาหาตะ การเคลื่อนไหวทั่วไป, กระตุ้นความรู้สึกของสัมผัส
- วิสุทธิ ทำให้เกิดที่ว่าง, กระตุ้นความรู้สึกของการได้ยิน
- อจนา จิตปัญญา
กาล 6
กาลทั้ง 6 ซึ่งจะเป็นเวลาที่ทำพิธีบูชาในเทวสถาน
- ก่อนเช้ามืด
- เช้า
- ก่อนเที่ยง
- เที่ยง
- ค่ำ
- ดึก
กาล 3
กาลทั้ง 3 คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
เกทาระ
ภูเขาทางตอนเหนือของอินเดียในเทือกเขาหิมาลัย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศิวะ และ ศรีสังกระ (อธิสังกระ) ผู้เป็นศาสดาแห่งอไทฺวตะ เวทานตะ
เกวละ
เกวละ หนึ่งเดียว ลำพัง เป็นคำคุณศัพท์ของ ไกวัลยะ
ไกวัลยะ
ไกวัลยะ สถานะของการมีชีวิตอยู่ตามลำพัง ความโดดเดี่ยว สถานะของการหลุดพ้น เกวละหมายถึง “หนึ่งเดียว” (อาตมัน)
กัลปะ
กัลปะ 1 วันของพรหม เรียกว่า กัลปะ ประกอบด้วย 1000 มหายุค เท่ากับ 4,320,000 ปี กล่าวกันว่ามี 4 ยุค
- กรีทายุค เท่ากับ 1,728,000 ปีมนุษย์
- เทรทายุค เท่ากับ 1,296,000 ปีมนุษย์
- ทวาปรายุค เท่ากับ 864,000 ปีมนุษย์
- กาลียุค เท่ากับ 432,000 ปีมนุษย์
ตามความเชื่อของฮินดู วันเริ่มขึ้นเมื่อพรหมสร้างโลกขึ้น เมื่อหมดวันโลกก็จะกลับไปรวมกับพรหม
บางตำรา 1 กัลปะ แบ่งออกเป็น 14 รัชสมัยของมนู (ผู้ตรากฎหมาย-ผู้ปกครอง) โดย 14×1มนู (มี 72 มหายุค) เพราะฉะนั้น 1 วันของพรหม เท่ากับ 14x72x4.32ล้านปี = 4,354.56 ล้านปี
เกศวะ
เกศวะ หมายถึง ผู้มีผมยาวสลวย นามของวิษณุ
ศรีสังกระ และ นารตะ แปลคำว่า เกศวะ นี้ว่า (วิษณุ) ผู้ฆ่าอสูรเกศิน
ศรีสังกระ แปลคำว่า เกศวะ นี้ว่า (วิษณุ) ผู้ที่มีผมร่วง และไปยืมแสงอาทิตย์มาจากสุริยะ จึงสวยงามเจิดจรัสดังแสงอาทิตย์
ศรีสังกระ กล่าวว่า เกศวะ คือ พรหม วิษณุ รุทระ เพราะทั้งสามพระองค์ทรงปกครองอยู่เหนือพวกเขา จึงเป็น เกศวะ
ไกรลาส
ไกรลาส (เขาไกรลาส) ภูเขาสูงมากในเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่พำนักอันศักดิ์สิทธิ์ของศิวะ
ข้อมูล 5 ประการ
5 ข้อมูลจากการสัมผัส คือ กลิ่น ; รส ; รูป ; สัมผัส ; เสียง
คชานะ
หน่วยของเวลา
- 1 kshana เท่ากับประมาณ 4/5 วินาที
- 1 lava เท่ากับ ½ kshana
- 1 truti เท่ากับ ½ lava หรือ ¼ ของ kshana
หรือมาตราเวลาดังนี้
- 1 Krati = 34,000th of a second
- 1 Truti = 300th of a second
- 2 Truti = 1 Luv
- 2 Luv = 1 Kshana
- 30 Kshana = 1 Vipal
- 60 Vipal = 1 Pal
- 60 Pal = 1 Ghadi (24 Minutes)
- 2.5 Ghadi = 1 Hora (1 Hour) (โหรา)
- 24 Hora = 1 Divas (1 Day) (ทิวา)
- 7 Divas = 1 Saptah (1 week) (สัปดาห์)
- 4 Saptah = 1 Mas ( 1 Season) (มาส)
- 2 Mas = 1 Rutu (1 Season) (ฤดู)
- 6 Rutu = 1 Varsh (1 Year) (วรรษ)
- 100 Varsh = 1 Shatabda (1 Century) (ศต~)
- 10 Shatabda = 1 Sahasrabda
- 432 Sahasrabda = 1 Yug (Kaliyug) (ยุค)
- 2 Yug = 1 Dwaparyug
- 3 Yug = 1 Tretayug
- 4 Yug = 1 Krutayug
- 10 Yug = 1 Mahayug(4,320,000Yrs) (มหายุค)
- 1000 Mahayug = 1 Kalpa (กัลป์)
- 1 Kalpa = 4.32 Billion Years
ความต้องการ 4 ประการ
ความต้องการ 4 ประการ สำหรับการตระหนักรู้ถึงพรหมัน (4 วิธีที่จำเป็นสำหรับจิตวิญญาณ)
- วิเวกะ ความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งจริงและสิ่งลวง
- ไวราคยะ จิตที่ปลีกตัวจากความเพลิดเพลินที่เป็นผลของการกระทำในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป
- สาระสำคัญ ประกอบด้วย
- สมะ สงบ
- ทมะ ควบคุมตนเอง ควบคุมผัสสะ
- อุปาราติ ปล่อยวาง หยุดการกระทำ ถอนออกจากความรู้สึกจากภายนอก
- ทิฐิกสะ อดทน อภัย อดทนต่อสิ่งตรงข้าม เช่น ร้อน-เย็น, พอใจ-เจ็บปวด ให้ความเท่าเทียมกันโดยไม่เข้าไปดิ้นรนแก้ไข หรือล้างแค้น ปราศจากความวิตกกังวลหรือคร่ำครวญบนสิ่งเหล่านี้
- ศรัทธา ความเข้าใจที่ชัดเจน ทัศนคติของจิตใจที่มั่นคง อ่อนน้อมถ่อมตน จริงใจ จริงจัง เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรมในทุกกรณี
- สมัทธนะ การทำสมาธิที่ลึกซึ้ง, การไตร่ตรองในทางนามธรรม
- มุมุกสัตวา ความปรารถนาอย่างมากที่จะหลุดพ้น
คยา
คยา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอินเดียที่ซึ่งบุคคลแสดงความศรัทธาและแสดงความผูกพัน (บูชา) ต่อบรรพบุรุษ
ครุฑ
ครุฑ ราชาแห่งปักษา พาหนะของวิษณุ กล่าวกันว่าเป็นผู้สังหารงู (นาคา)
ความทุกข์ 3 ประการ
ความทุกข์ 3 ประการ
- อาธยาตมิกะ – ความทุกข์ที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น ความพิการ รวมทั้งความทุกข์ทางใจ เช่น ความผิดหวัง
- อธิเภาติกะ – ความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น แมลงกัด หนามตำ หรือมนุษย์ทุบตี
- อธิไทวิกะ – ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุเหนือวิสัยปกติ เช่น วิญญาณ ปีศาจ ผี และการกระทำของเทวะ คือ ความร้อน ความเย็น ลม ฝน ฯลฯ
ความทุกข์ 6 หรือ กังวล 6 ประการ
ความทุกข์ 6 ประการ
- ความหิว
- ความกระหาย
- ความเสียใจ
- ความสิ้นหวัง
- ความชรา
- ความตาย
ความรู้สึก 4 ประการ
ความรู้สึกภายใน ; คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับคณะภายใน (โครงสร้าง หรือ อันตกรณะ) ประกอบด้วย มนัส, พุทธิ, จิตตะ และ อหังการ มีหน้าที่ต่างกัน
- มนัส : ใจ มีลักษณะ สงสัย (วิกัลปะ) และ มุ่งมั่น (สังกัลปะ) มักจะใช้คำว่า มนัส หรือ ใจ เป็นคำเรียกที่รวมเอาพุทธิหรือจิตตะไว้ด้วย
- พุทธิ : สติปัญญา ซึ่งยกระดับได้ด้วยพลังของการบำเพ็ญเพียร (มุ่งมั่นและปฏิบัติ)
- จิตตะ : จิต เป็นคลังของความประทับใจในอดีต
- อหังการ : กำหนดลักษณะโดยความรู้สึกว่า “ตัวฉัน”
ความรู้สึก 4 และเทวะแห่งความรู้สึกนั้น
ความรู้สึกภายใน 4 ประการ และเทวะของสิ่งเหล่านั้น
- มนัส (จิตใจ) : จันทรา
- พุทธิ (สติปัญญา) : พรหม
- อหังการ (ego) : รุทระ
- จิตตะ (ความคิด, สติปัญญา) : วสุเทวะ
ความหมาย 3 ประการ
- จิตใจ
- คำพูด
- ร่างกาย
ความไม่รู้
ความไม่รู้ ความละเลย ; ในอไทฺวตะกล่าวว่า “ความไม่รู้” มีพลังในการปกปิดความจริง, พลังแห่งความเท็จ คือ “อวิชชา”
ความหมาย 4 ประการ
ความหมายทั้ง 4 ในคีตานี้ คือ ความต้องการ 4 ประการ สำหรับการตระหนักรู้ถึงพรหมัน (4 วิธีที่จำเป็นสำหรับจิตวิญญาณ)
ความต้องการ 4 ประการ สำหรับการตระหนักรู้ถึงพรหมัน (4 วิธีที่จำเป็นสำหรับจิตวิญญาณ)
- วิเวกะ ความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งจริงและสิ่งลวง
- ไวราคยะ จิตที่ปลีกตัวจากความเพลิดเพลินที่เป็นผลของการกระทำในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป
- สาระสำคัญ ประกอบด้วย
- สมะ สงบ
- ทมะ ควบคุมตนเอง ควบคุมผัสสะ
- อุปาราติ ปล่อยวาง หยุดการกระทำ ถอนออกจากความรู้สึกจากภายนอก
- ทิฐิกสะ อดทน อภัย อดทนต่อสิ่งตรงข้าม เช่น ร้อน-เย็น, พอใจ-เจ็บปวด ให้ความเท่าเทียมกันโดยไม่เข้าไปดิ้นรนแก้ไข หรือล้างแค้น ปราศจากความวิตกกังวลหรือคร่ำครวญบนสิ่งเหล่านี้
- ศรัทธา ความเข้าใจที่ชัดเจน ทัศนคติของจิตใจที่มั่นคง อ่อนน้อมถ่อมตน จริงใจ จริงจัง เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นค้นหาสัจธรรมในทุกกรณี
- สมัทธนะ การทำสมาธิที่ลึกซึ้ง, การไตร่ตรองในทางนามธรรม
- มุมุกสัตวา ความปรารถนาอย่างมากที่จะหลุดพ้น
ความหมายโดยตรง/ความหมายโดยนัย
ในคีตานี้ จะมีการกล่าวถึง ความหมายโดยตรง/ความหมายโดยนัย เพื่อให้ผู้ศึกษาได้แยกแยะความหมายที่แท้จริงของคำกล่าวใดๆ
ชาฮาล-ลักษณะ เป็นความหมายโดยนัยที่ใช้ในขณะที่ความหมายหลักถูกยกเลิกไป เช่น “หมู่บ้านบนฝั่งแม่น้ำ” ความหมายหลักคือ “แม่น้ำ” ถูกยกเลิก เหลือเพียง “ฝั่งน้ำ” คือนัยที่ยอมรับ
อชาฮาล-ลักษณะ เมื่อความหมายหลักของประโยคไม่ชัดเจนเพียงพอ, จะใช้ความหมายรองช่วยเสริม โดยที่ความหมายหลักไม่ได้ถูกยกเลิกไป
ชาฮาด-อชาฮาล-ลักษณะ เป็นความหมายทุติยภูมิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความหมายหลัก ในกรณีนี้ความหมายหลักจะถูกตัดทิ้งไปบางส่วน และบางส่วนถูกเก็บไว้ เช่น “นี่คือฤภูคนนั้น” มีความหมายถึงฤภูผู้มีคุณสมบัตินั้น ในเวลาและสถานที่นั้น ในอดีต แต่ความรู้สึกของประโยคนี้ คือ ความหมายของคุณลักษณะของฤภูยังถูกเก็บไว้ (เป็นฤภูคนเดิม) แต่เวลาและสถานที่เดิมในอดีตได้ถูกตัดทิ้งไป
ความหมายโดยนัยนี้ จะเป็นวิธีที่ถูกใช้อธิบายเรื่องการไม่เป็นสิ่งคู่ตรงกันข้าม เพื่อพิสูจน์ให้ได้ความหมายของอัตลักษณ์, มหาวรรคยะ (คติพจน์ที่ยิ่งใหญ่) และอื่นๆ
คัม
คัม คือ พรหมัน
พิจา-อักษรา (พิจักษรา) เป็น “อักษรที่เป็นเมล็ดพันธุ์” คือพยัญชนะ ใช้เพื่อแสดงภาวะสมบูรณ์, เทวะ (จะมีพิจักษราเป็นของตนเอง), พลัง, เช่น ฮัม (ที่ว่าง), ยัม (อากาศ), รัม (ไฟ), วัม (น้ำ), ลัม (ดิน), คัม (พรหมัน), คะ (ศิวะ), อิ (ศักติ), กะ (คเณศ) เป็นต้น
คุณลักษณะ 6 ประการ
ลักษณะ 6 ประการ ที่ต้องสังเกตเพื่อเข้าใจพระเวท
- อุปกะรามะ และ อุปสัมหาระ (เริ่มต้นและสรุป)
- อุปรวาทะ (แปลกใหม่ ไม่คุ้นเคย)
- อภยาสะ (ทบทวน กล่าวซ้ำๆ)
- ผละ (ผลลัพธ์)
- อาธวาทะ (สรรเสริญหรือตำหนิ)
- อุปปัตติ (เข้าใจด้วยเหตุผล)
คุณะ 3 ประการ
คุณะ 3 ประการเป็นองค์ประกอบที่สมดุลของประกฤติ
- สัตวะ แปลว่า ความแท้จริงหรือความมีอยู่ สัตวะเป็นมูลฐานแห่งความดี ความสุข ความเบา ความแจ่มใส ความมีประกายสดใส ความเจิดจ้าแห่งแสงสว่าง การเลื่อนลอยขึ้นเบื้องบน ความพอใจ มีสีขาว (มีลักษณะ ลอย, ส่องสว่าง, แสงสว่าง, ความรู้, ความสุข)
- รชัส (รชะ) แปลว่า ความเศร้าหมอง รชัสเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดจลนภาพหรือความเคลื่อนไหว ความกระปี้กระเปร่า ความเจ็บปวด ความกระวนกระวาย ความโหดร้ายรุนแรงของอารมณ์ รชัสทำให้เกิดการกระตุ้นเร่งเร้าอันเป็นผลให้เกิดความเคลื่อนไหว มีสีแดง (มีลักษณะ ปั่นป่วน, กระตุ้น, แรงจูงใจ, ความเจ็บปวด, ความตื่นตัว)
- ตมัส (ตมะ) ความมืด ตมัสเป็นมูลฐานแห่งความเฉยๆ ปราศจากความสนใจ ความโง่เขลา ความสับสน ความเซื่องซึมเหงาหงอย ความหดหู่ ตมัสทำให้เกิดความหยุดนิ่ง (ในแง่ของวัตถุ) มีสีดำหรือคล้ำ (มีลักษณะ หนัก, ห่อหุ้ม, มืด, ไม่แยแส, ความเกียจคร้าน, ความเฉื่อย)
เมื่อคุณะทั้ง 3 สมดุลคืออยู่ในภาวะของประกฤติ เมื่อเกิดเสียความสมดุล, วิวัฒนาการก็จะเริ่มต้นขึ้นและดำเนินเรื่อยไปตามครรลองของมัน ; คุณะยังหมายถึง เชือก องค์ประกอบทั้งสามกล่าวกันว่าเป็นเหมือนเกลียวเชือกที่มัดตัวบุคคล
คุรุ / สัทคุรุ
ครูที่แท้จริง ครูผู้รู้แจ้ง ผู้เผยสัจธรรมของอาตมันให้แก่ศิษย์ ครูผู้เผยให้เห็นว่ามีความสมบูรณ์หนึ่งเดียวคืออาตมัน หรือสามารถแปลได้ว่า ครูที่ดี
คเณศ
คเณศ หรือเรียกว่า วินายัค มีพักตร์เป็นช้าง ผู้บูชาคเณศจะไร้ซึ่งอุปสรรค คเณศเป็นบุตรอีกคนของศิวะกับชายา คือพระแม่อุมา (บุตรคนแรกคือสกันทะ)
ไจตันยะ
ไจตันยะ ใช้เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าเฉื่อย (จาดะ) หมายถึงความรู้สึก, สติปัญญา, วิญญาณ, ชีวิต, ความมีชีวิตชีวาวิญญาณสูงสุด, สิ่งมีชีวิตทั้งหมด และแหล่งที่มาของความรู้สึกทั้งหมด
ชนารธนะ
ชนารธนะ นามของกฤษณะ หมายถึง ผู้ลงโทษคนชั่วร้าย และเป็นผู้ซึ่งมนุษย์วิงวอนขอให้ได้วัตถุพื้นฐานของการดำรงชีวิต คือ ธรรม (การงาน) ; อรรถ (มั่งคั่ง) ; กาม (ความปรารถนา) และ โมกษะ (การหลุดพ้น) เพื่อสวัสดิภาพของพวกเขา
ชั้นของความแตกต่าง
ชั้นของความแตกต่าง หมายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล, ระหว่างพระเจ้า และ ระหว่างเรื่องราว ; ระหว่างบุคคลกับเรื่องราว ; ระหว่างเรื่องราวที่มีรูปแบบต่างกัน
จาปา / ชาปา
การท่องมนตราซ้ำๆ อย่างมีสติในช่วงเวลาหนึ่ง
ชีวา / ชีวาตมัน
ชีวา คือ ปัจเจกวิญญาณ หรือวิญญาณของบุคคลหนึ่ง, ชีวาของผู้ที่หลุดพ้นคืออาตมัน, แต่ชีวาของผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นคือ อัตตา หรือ อหังการ
ชีวานมุกตะ
ชีวานมุกตะ ผู้ที่หลุดพ้นในขณะที่ยังมีชีวิต
ซาวัม
ซาวัม สรรพสิ่ง ทั้งปวง ทั้งหมด ; ทุกสิ่งในจักรวาล : ทั้งที่รับรู้ได้และรับรู้ไม่ได้ คือ คน, เทวะ, ปีศาจ, อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต, รูปธรรม, นามธรรม, สิ่งต่างๆ, คุณภาพ, แรง, สภาวะ และอื่นๆ
ดวงตาที่สาม
ศิวะและพระชายาอุมา บุตรสกันทะ และเทวะองค์อื่นๆ กล่าวกันว่า มีดวงตาที่สาม
หรือ ดวงตาที่สาม มักจะหมายถึง การส่องสว่างทั้งสามคือ พระอาทิตย์, พระจันทร์ และ ไฟ
ดาชัน
ดาชัน หมายถึง ดูศักดิ์สิทธิ์
ตตฺ
ในคีตามักจะพบประโยคที่กล่าวว่า [สิ่งนั้น คือ “ตตฺ”] ตตฺ ถูกใช้แทนความหมายของ พรหมัน, สมบูรณ์ ไร้ตัวตน, ปราศจากเงื่อนไขใดๆ (ปราศจากความหลงผิด)
ตรีกายา
ตรีกายา 3 ประเภท
- สถุลาสรีระ (กายหยาบ) คือเปลือกของอาหาร ประกอบด้วยธาตุทั้งห้า
- สุขมาสรีระ (กายละเอียด) คือร่างของจิตและพลังงานสำคัญซึ่งทำให้กายมีชีวิต กายละเอียดจะรวมกับกายทิพย์ซึ่งส่งต่อวิญญาณ หรือ ชีวา ที่แยกออกจากการยหยาบเมื่อตาย ประกอบด้วย
- ปราณามายาโกษา เกี่ยวกับลมปราณ
- มโนมายาโกษา เกี่ยวกับจิตและสัมผัส
- วิทยานะมายาโกษา เกี่ยวกับพุทธิและสัมผัส
- กรนาสรีระ (กายทิพย์) เป็นเพียงเมล็ดพันธุ์ของการหยาบและกายละเอียด กล่าวว่ามีความซับซ้อนมากที่สุด เพราะประกอบไปด้วยประสบการณ์ที่ประทับใจที่เกิดขึ้นในอดีต หรือสิ่งห่อหุ้มความสุข (อนันตมายาโกษา)
ตรีปุระ
ตรีปุระ (เมืองทั้งสาม) ตำนานเล่าว่าบุตรชายสามคนของตาระกะสูร ชื่อ ตาระกาสะ, วิทยันมาละ และ กมาลักสะ ได้ร่วมกันบำเพ็ญเพียรเป็นเวลาหลายศตวรรษจนได้รับพรจากพรหมผู้สร้าง คือ พวกเขาแต่ละคนจะได้รับความสุขอยู่บนป้อมปราการทองคำ, เงิน และ เหล็ก ที่แข็งแกร่งตามลำดับ, ป้อมปราการถูกสร้างขึ้นโดย อาร์ค สถาปนิก, มายา, มีความยิ่งใหญ่และน่าพิศวงอย่างหาที่เปรียบมิได้ และทั้งสามได้รับพรในการอยู่ยงคงกระพัน มีพลังมากมาย แม้ว่าทั้งสามได้นับถือมหาเทพที่ยิ่งใหญ่, พวกเขาหลงทางไปสู่การกระทำที่ไม่ชอบธรรมในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคุกคามพระเป็นเจ้า ซึ่งท้ายที่สุดศิวะต้องปราบพวกเขา โดยใช้รถศึกขนาดมหึมา, อาวุธ, เครื่องแต่งกาย ของศิวะ ถูกจัดเตรียมโดยเทวะ, ปราชญ์, กองกำลังต่างๆ ของสวรรค์และโลก ซึ่งมาร่วมช่วยกันกำหนดรูปแบบการโจมตีเมืองทั้งสาม จนได้ถูกทำลายหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวสูญเสียพลังพิเศษและถูกไฟไหม้ทั้งหมด ในศิวะปุราณะระบุว่าเมืองทั้งสาม (โคจร) เข้ามาอยู่ในแนวเดียวกันและศิวะทำลายพวกเขาด้วยลูกศรเพียงดอกเดียว สิ่งนี้เรียกในตำนานว่าเป็นการทำลายเมืองทั้งสาม
มีการอธิบายเหตุการณ์เชิงเปรียบเทียบ เช่น รถม้าเป็นสัญลักษณ์ของร่างกายหรือจักรวาลหรือประสบการณ์ทั้งหมด ; เมืองทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนา, ความโกรธ, ความโลภ, ความผูกพัน, ความเกลียดชังและความหลงใหล หรืออื่น ๆ ; นอกจากนี้ยังอธิบายว่าการทำลายล้างตรีปุระ (อาณาจักรที่มีความแตกต่างกันและเป็นเอกเทศของตัวเอง) ด้วยจิตสำนึกสัมบูรณ์ของศิวะ ได้ทำลายสถานะที่แตกต่างกันนั้นด้วยลูกศรดอกเดียวของความรู้ที่ไม่เป็นคู่ ; เมื่อทั้งสาม “อยู่ในแนวเดียวกัน” จึงเป็นความหมายแก่นสารสำคัญนี้
ตันตระ
ตันตระ กฎ พิธีกรรม บทความเกี่ยวกับการบูชา ; หลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับเวทย์มนตร์และสูตรอาถรรพ์สำหรับการบูชาเทวะหรือการบรรลุพลังเหนือมนุษย์
ทิฐิกสะ
ทิฐิกสะ อดทน อภัย อดทนต่อสิ่งตรงข้าม เช่น ร้อน-เย็น, พอใจ-เจ็บปวด ให้ความเท่าเทียมกันโดยไม่เข้าไปดิ้นรนแก้ไข หรือล้างแค้น ปราศจากความวิตกกังวลหรือคร่ำครวญบนสิ่งเหล่านี้
ทิฐิกสะ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของคุณสมบัติทั้ง 4 เพื่อตระหนักรู้ถึงพรหมัน
ตานมาตรา 5
ตานมาตรา ข้อมูลความรู้สึกห้าประการ (ปัญจะ ตานมาตรา)
- คันธะ ตานมาตรา : กลิ่น แบบละเอียดอ่อน
- รสะ ตานมาตรา : ลิ้มรส ในรูปของน้ำที่ละเอียดอ่อน
- รูปะ ตานมาตรา : รูปในรูปของไฟที่ละเอียดอ่อน
- สผัสสะ ตานมาตรา : สัมผัสในรูปแบบของอากาศที่ละเอียดอ่อน
- ศัพทะ ตานมาตรา : เสียงในรูปของอากาศที่บอบบาง
ตาปาส / ทาปาส
ตาปาส หรือ ทาปาส มีความหมายดังนี้
- ตาปาส การปลงอาบัติ, ความเคร่งครัดทางศาสนา, การตาย หรือ การทำสมาธิที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนในการปฏิเสธตนเอง หรือการตายทางร่างกาย, คุณธรรม ศีลธรรม, ความดีความชอบ, หน้าที่พิเศษหรือการปฏิบัติตามวรรณะใดๆ ;
- ตาปาส (ตาปะห์) หมายถึงความร้อน ความอบอุ่น ไฟ ดวงอาทิตย์ ฤดูร้อนและสิ่งที่คล้ายกัน ;
- ตาปาส แปลว่า เป็นการฝึกฝนที่ร้อนแรง (รุนแรง) ก็ได้
ทัตวา
ทัตวา เรียกทั่วไปว่า “ความจริง” ; สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ประจักษ์ ; อาจกล่าวได้ว่า ความจริง (ทัตวา) เป็นสิ่งที่กำหนดขอบเขต หน้าที่ คำสั่งของการสร้างทั้งหมด จนกระทั่งการสลายตัวครั้งสุดท้าย
บางที ความจริง (ทัตวา) ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดย ความไม่เข้าใจ, ทั้งเข้าใจและไม่เข้าใจ, ความเข้าใจ ความจริง (ทัตวา) 24 ประการมีดังนี้
กลุ่มธาตุทั้ง 5 (ปัญจะภูตะ)
- ปฐพี (ดิน)
- อาโป (น้ำ)
- เตโช (ไฟ)
- วายุ (ลม)
- อากาศ (ที่ว่าง)
กลุ่มข้อมูลความรู้สึก (ปัญจะตานมาตรา)
- คันธะ ตานมาตรา : กลิ่น แบบละเอียดอ่อน
- รสะ ตานมาตรา : ลิ้มรส ในรูปของน้ำที่ละเอียดอ่อน
- รูปะ ตานมาตรา : รูปในรูปของไฟที่ละเอียดอ่อน
- สผัสสะ ตานมาตรา : สัมผัสในรูปแบบของอากาศที่ละเอียดอ่อน
- ศัพทะ ตานมาตรา : เสียงในรูปของอากาศที่บอบบาง
กลุ่มอวัยวะสัมผัส อวัยวะแห่งความรู้ (ยาเนนทรีย์)
- โสตร : ความรู้สึกทางหูที่รับรู้เสียง (หู)
- ตวัก : ความรู้สึกสัมผัสที่รับรู้สัมผัส (ผิวหนัง)
- จักษุ : ความรู้สึกทางสายตาที่รับรู้รูปแบบ (ตา)
- ชิวหา : ความรู้สึกที่รับรู้รสชาติ (ลิ้น)
- ครานะ : ความรู้สึกเกี่ยวกับการดมกลิ่นที่รับรู้กลิ่น (จมูก)
อวัยวะการกระทำ (กรรมเมนทรีย์)
- วาจา (พูด) : ใช้ในการอธิบาย
- ปานิ (มือ) : ใช้ในการจับและปล่อย
- บาทา (เท้า) : ใช้ในการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่
- พายุ (ขับถ่าย) : ใช้ในการขับถ่าย
- อุบัติ (การเกิด) : ใช้ในการกำเนิด, สร้างความพึงใจทางเพศ
กลุ่มภายใน 4 คณะ (อันตะกรณะ)
- มนัส : ใจ ; ความรู้สึกภายในที่บรรลุเมื่อ รชัส (แรงจูงใจของความทุกข์) ครอบงำเหนือสัตวะและตมัส ; มนัสเป็นรากของสังกัลปะ (ความมุ่งมั่น) และ วิกัลปะ (ความสงสัย) ทั้งหมด
- พุทธิ : สติปัญญา ; ความรู้สึกภายในที่ได้รับเมื่อสัตวะ มีความสำคัญมากกว่า รชัส และ ตมัส ; กอปรด้วยพลังแห่งการปฏิบัติและบำเพ็ญเพียร ; ด้วยเหตุนี้ พุทธิจึงเป็นรากฐานของความเชื่อมั่นทั้งหมด
- อหังการ: ความเห็นแก่ตัว ; ความรู้สึกภายในที่เกิดขึ้นเมื่อ ตมัส มีอิทธิพลเหนือ สัตวะ และ รชัส โดดเด่นด้วยจิตสำนึกว่ามี “ตัวฉัน” และ อหังการเป็นรากเหง้าของจินตนาการทั้งหมดที่มาบรรจบกัน
- จิตตะ : จิต ; บรรลุโดยสภาวะที่เหมาะสมของ สัตวะ รชัส และ ตมัส ; คลังแห่งความประทับใจในอดีต ; คำว่ามนัสหรือจิตมักใช้เป็นคำทั่วไปเพื่อรวมพุทธหรือจิตตะด้วย
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงกลุ่มอื่น ๆ 36 ทัตวา หรือ 96 ทัตวา ในวราโหปนิษัท
ทิฆัมพร
ทิฆัมพร เป็นคำสันสกฤต หมายถึง นุ่งลมห่มฟ้า การปฏิบัติของนักบวชตามประเพณีของศาสนาเชน ที่ไม่ครอบครองหรือสวมเสื้อผ้าใด ๆ
ที่ว่างสำหรับสติ
ที่ว่างสำหรับสติ/ที่ว่างสำหรับอาตมัน คำเหล่านี้บ่งบอกถึงลักษณะที่ไม่มีที่สิ้นสุด (อนันต์) และแพร่หลายไปทั่วทั้งหมดตามธรรมชาติของจิตสำนึก (สติ) และตัวตน (อาตมัน)
ธรรมะ
ธรรมะ เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายกว้างหลากหลาย ซึ่งรวมถึง หน้าที่, ความประพฤติชอบ, ความประพฤติตามจรรยาบรรณ, ความประพฤติตามคัมภีร์, ความประพฤติตามประเพณี, ความประพฤติตามกฎหมาย, ความประพฤติตามความประพฤติตามกฎชีวิต, ความประพฤติตามจารีต, ความประพฤติตามธรรมนูญ, ความดีทางศาสนา, ความถูกต้อง, การทำงานที่ดี, บุญ, ความยุติธรรม, ความกตัญญู, ความเหมาะสม, ซื่อสัตย์, ความดี, จริยธรรม, ลักษณะตามธรรมชาติ, ความร่วมมือที่ดี, คุณธรรม, ความจงรักภักดี และนามธรรมทางศาสนา
เป็นที่เข้าใจว่าธรรมะคือความถูกต้องชอบธรรม เหมาะสมตามระดับชั้นของสังคม (วรรณะ) และสถานะ (อาศรม) เป็นการกระทำที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง และเป็นการปลดปล่อยชีวิตทั้งปวงให้หลุดพ้น
ธรรมะ เกิดจากจารีตประเพณี, กำหนดขึ้นเพื่อให้บฏิบัติตามกฎจารีตประเพณีและเป็นพิธีการทางสังคมทั่วไป
ธารานะ
สมาธิของจิตใจ คือการตรึง, สมาธิ เป็นหนึ่งในอัษฎางค์โยคะของปตัญชลี กล่าวกันว่ามี 5 แบบ :
- กล่าวมนตรา โอม ซ้ำๆ
- ตั้งสมาธิอยู่ที่ศูนย์กลางจิตวิญญาณภายในร่างกายเช่น ศูนย์กลางหัวใจ หรือ ที่ดอกบัวของหัวใจ
- ตั้งสมาธิในใจของจิตวิญญาณที่สว่างไสวที่ปราศจากกิเลส
- มีสมาธิกับความฝันเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์หรือสัญลักษณ์ของพระเจ้า หรือ การนอนหลับสนิท
- ตั้งสมาธิที่เทวรูปหรือสัญลักษณ์ของพระเจ้า
ธาตุ 5 ประการ
- ปฐพี (ดิน)
- อาโป (น้ำ)
- เตโช (ไฟ)
- วายุ (ลม)
- อากาศ (ที่ว่าง)
ธาราปนะ
การบูชาเทวะด้วยการถวายน้ำ การหลั่งน้ำถวายแด่ศิวลึงค์เพื่อบูชาแด่มหาเทพ (ศิวะ) ; ดู อุปาจาระ รายละเอียดการบูชาเทวะ