อุปนิษัท
อุปนิษัท
อุปนิษัท คือส่วนสรุปของพระเวทและด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า เวทานตะ (ตอนจบของพระเวท)
คำว่าอุปนิษัทมีความหมายหลายนัยคือ: การนั่งใกล้ ความภักดี คำแนะนำที่ได้รับโดยการนั่งใกล้คุรุ (ซึ่งให้) การรับรองและชำระ (ความเศร้าโศก) การสอนความลับ และความรู้เรื่องภาวะสมบูรณ์ คำสอนนี้เป็นคำสอนระดับสูง เป็นคำสอนลึกลับที่เรียกว่า “รหัสวิทยา” ซึ่งเป็นการสอนความจริงแท้หรือสัจธรรม

คัมภีร์อุปนิษัทเป็นคัมภีร์ที่มีความเก่าแก่ แม้จะมีหลายคัมภีร์และขัดแย้งกันเองบ้าง แต่ทุกคัมภีร์มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการประกาศลัทธิ เอกเทวนิยม หรือ เอกนิยม คือ ทุกคนมีวิญญาณหรือ “อาตมัน” เป็นแก่นแท้ของชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับวิญญาณสากลคือ “พรหมัน” อาตมันนี้ไม่มีเบื้องต้น อยู่ชั่วนิรันดร์ อยู่ทุกแห่งหน บริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิง และเป็นสัจธรรมสูงสุด โลกมนุษย์และจักรวาลทั้งหมดเป็นการสำแดง (มายา) ของพรหม มนุษย์ทุกคนเป็นพรหมแต่เพราะอวิชชาจึงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวตนของตนเองขึ้นมา ดังนั้นเมื่อมนุษย์รู้ว่าตนเองคือพรหมันก็จะได้บรรลุโมกษะ ไม่ต้องทนทุกข์เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ; พรหมันก็คือพระเจ้าสูงสุดหรือปรมาตมัน ซึ่งเป็นวิญญาณสูงสุด สรรพสิ่งเป็นอาตมัน (พรหมัน) และจะกลับคืนสู่ “พรหมัน หรือ ปรมาตมัน” ซึ่งเป็นนิรันดร์เมื่อเขาตระหนักรู้ว่าเขาคือพรหมันก็จะบรรลุถึงโมกษะ
พระเวทมีการจำแนกประเภทกว้าง ๆ สี่ประเภท ได้แก่ ฤคเวท, ยชุรเวท, สามเวท และ อาถรรพเวท มีหลายสาขาในพระเวท แต่ละสาขามีกรรมขันธะ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์) ประกอบด้วยมนต์และพิธีพราหมณ์, การบูชา, การทำสมาธิ และการศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของผู้ที่เดินเส้นทางฤๅษีและอาศัยอยู่ในป่าเพื่อการแสวงหาความรู้อย่างทุ่มเท) ; กล่าวกันว่าอุปนิษัทเป็นส่วนหนึ่งของ อารัญญะกะ (หนึ่งในกลุ่มงานเขียนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดูที่แต่งขึ้นระหว่างพราหมณ์และอุปนิษัทและใช้ในพิธีกรรมตามพระเวท) นับตามดั้งเดิมพระเวททั้งสี่ได้รับการประมวลโดยท่านวยาสเป็น 1180 สาขา และแต่ละสาขามีอยู่ในอุปนิษัท ; ดังนั้นตามวิษณุปุราณะน่าจะมี 21 สาขา สำหรับฤคเวท, 109 สำหรับ ยชุรเวท, 1000 สำหรับ สามเวท และ 50 สำหรับ อาถรรพเวท ;
บางครั้งอุปนิษัทยังถูกรวบรวมเป็นกลุ่มตามหัวข้อดังนี้:
- อุปนิษัทหลัก สิบประการ ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นสิบลำดับในมุกติโคปนิษัทและค้นพบโดยอาจารย์ศรีสังกราจารย์
- สามัญอุปนิษัท: 14, 17, 24, 25, 30, 32, 33, 34, 35, 36, 42, 51, 57, 59, 61, 62, 69, 70, 71, 72, 73, 75 , 76, 94, 108 เรียกเช่นนี้เพราะ ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับคำสอนของผู้สนใจทั่วไป
- ไศวะอุปนิษัท : 12, 22, 23, 26, 28, 49, 50, 67, 85, 87, 88, 89, 93, 104 เรียกเช่นนี้เพราะเกี่ยวกับศิวะเป็นส่วนใหญ่
- ศักตอุปนิษัท : 45, 80. 81, 82, 84, 105, 106, 107 เรียกเช่นนี้เพราะเกี่ยวกับ ศักติ เป็นส่วนใหญ่
- ไวศนวอุปนิษัท : 18, 27, 52, 54, 55, 56, 68, 91, 95, 96, 100, 101, 102, 103 เรียกเช่นนี้เพราะเกี่ยวข้องกับวิษณุเป็นส่วนใหญ่
- โยคะอุปนิษัท: 15, 20, 21, 31, 37, 38, 39, 40, 41, 44, 46, 48, 53, 58, 63, 77, 86, 90,92, 98 เรียกเช่นนี้เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องโยคะ
- สนฺยาสอุปนิษัท : 11, 13, 16, 19, 29, 43, 47, 60, 64, 65, 66, 74, 78, 79, 83, 97, 99 เรียกเช่นนี้เพราะเกี่ยวกับการสันยาสเป็นส่วนใหญ่ (การละทิ้ง, สละ, หลุดพ้น)

พระเวทเหล่านี้ส่วนใหญ่สูญหายไปตามกาลเวลาและมีเหลืออยู่เพียง 108 รายชื่อ 108 อุปนิษัทมีอยู่ด้านล่างพร้อมแสดงอักษรย่อ (พระเวทที่แต่ละอุปนิษัทเกี่ยวข้อง) ได้แก่ R สำหรับ ฤคเวท, KY สำหรับ กฤษณะยชุรเวท, SY สำหรับ สุขาละ ยชุรเวท (KY และ SY เป็นสองเวอร์ชันของยชุรเวท, S สำหรับ สามเวท และ A สำหรับ อาถรรพเวท)
- Isavasya (SY) อีศ-อุปนิษทฺ หรือ อีศาวาสฺย-อุปนิษทฺ
- Kena (S) เกน-อุปนิษทฺ
- Katha (KY) กฐ-อุปนิษทฺ
- Prasna (A) ปฺรศฺน-อุปนิษทฺ
- Mundaka (A) มุณฺฑก-อุปนิษทฺ
- Mandukya (A) มาณฺฑูกฺย-อุปนิษทฺ
- Taittiriya (KY) ไตตฺติรีย-อุปนิษทฺ
- Aitareya (R) ไอตเรย-อุปนิษทฺ
- Chhandogya (S) ฉานฺโทคฺย-อุปนิษทฺ
- Brahadaranyaka (SY) พฤหทารณฺยก-อุปนิษทฺ
- Brahma (KY) พรหม-อุปนิษัท
- Kaivalya (KY) ไกวลฺย-อุปนิษัท
- Jabala (SY) ชาบาล-อุปนิษทฺ
- Svetasvatara (KY) เศฺวตาศฺวตร-อุปนิษทฺ
- Hamsa (SY) หมฺส-อุปนิษัท
- Arunika (S) อรุณิก-อุปนิษัท
- Garbha (KY) การภ-อุปนิษัท
- Narayana (KY) มหานารายณ-อุปนิษทฺ
- Paramahamsa (SY) ปรมหํสา-อุปนิษัท
- Amrtabindu (KY) อมฤตพินทุ-อุปนิษัท
- Amrtanada (KY) อมฤตนด-อุปนิษัท
- Atharvasira (A) อตฺถรวสิร-อุปนิษัท
- Atharvasikha (A) อตฺถรวสิข-อุปนิษัท
- Maitrayani (S) ไมตฺรายณีย หรือ ไมตฺรี-อุปนิษทฺ
- Kaushitaki (R) เกาษีตกี-อุปนิษทฺ หรือ ศางฺขายน-อุปนิษทฺ
- Brhajjabala (A) พฤหสฺจบล-อุปนิษัท
- Nrsimhatapini (A) นรสิงฺหตปนิ-อุปนิษัท
- Kalagnirudra (KY) กาลกฺนิรุทร-อุปนิษัท
- Maitreyi (S) ไมตรียิ-อุปนิษัท
- Subala (SY) สุพาล-อุปนิษทฺ
- Kshurika (KY) คชุริก-อุปนิษัท
- Mantrika (SY) มนฺตริก-อุปนิษัท
- Sarvasara (KY) สารวสร-อุปนิษัท
- Niralamba (SY) นิราลมฺบ-อุปนิษัท
- Sukharahasya (KY) สุขารหสฺย-อุปนิษัท
- Vajrasuchi (S) วาจรสูจิ-อุปนิษัท
- Tejobindu (KY) เตโชพินฺท-อุปนิษัท
- Nadabindu (R) นาฎพินธุ-อุปนิษัท
- Dhyanabindu (KY) ธยานพินทุ-อุปนิษัท
- Brahmavidya (KY) พรหมวิทฺย-อุปนิษัท
- Yogatattva (KY) โยคตตฺว-อุปนิษัท
- Atmabodha (R) อตมโบธ-อุปนิษัท
- Narada-parivrajaka (A) นารท-ปาริวรจกฺก-อุปนิษัท
- Trisikhibrahmana (SY) ตรีสิขพรหฺมณ-อุปนิษัท
- Sita (A) สิตา-อุปนิษัท
- Yogachudamani (S) โยคชุธามานิ-อุปนิษัท
- Nirvana (R) นิรวาน-อุปนิษัท
- Mandalabrahmana (SY) มนฺดาลาพรหฺมณ-อุปนิษัท
- Dakshinamurti (KY) ทกฺษิณมูรติ-อุปนิษัท
- Sarabha (A) สารภ-อุปนิษัท
- Skanda (KY) สกนฺท-อุปนิษัท
- Tripadvibhutimahanarayana (A) ตรีปทวิภูติมหานารายณ-อุปนิษัท
- Advayataraka (SY) อตฺวายตารก-อุปนิษัท
- Ramarahasya (A) รามรหสฺย-อุปนิษัท
- Ramatapini (A) รามตาปินิ-อุปนิษัท
- Vasudeva (S) วสุเทว-อุปนิษัท
- Mudgala (R) มุดกาล-อุปนิษัท
- Sandilya (A) สนฺดิลฺย-อุปนิษัท
- Paingala (SY) ปอินฺกาล-อุปนิษัท
- Bhikshuka (SY) ภิกฺศุข-อุปนิษัท
- Mahat (S) มหตฺ-อุปนิษัท
- Sariraka (KY) สาริราค-อุปนิษัท
- Yogasikha (KY) โยคสิข-อุปนิษัท
- Turiyatita (SY) ตุริยติต-อุปนิษัท
- Sannyasa (S) สนฺยาส-อุปนิษัท
- Paramahamsaparivrajaka (A) ปรมหํส-อุปนิษทฺ
- Akshamala (R) อกฺศมาล-อุปนิษัท
- Avyakta (S) อวิยากต-อุปนิษัท
- Ekakshara (KY) เอกกฺชาร-อุปนิษัท
- Annapurna (A) อนฺนาปุราณ-อุปนิษัท
- Surya (A) สุรย-อุปนิษัท
- Akshi (KY) อคศิ-อุปนิษัท
- Adhyatma (SY) อธฺยาตม-อุปนิษัท
- Kundika (S) กุนฺทิก-อุปนิษัท
- Savitri (S) สาวิตรี-อุปนิษัท
- Atma (A) อาตฺม-อุปนิษัท
- Pasupatabrahma (A) ปสุปตพรหฺม-อุปนิษัท
- Parabrahma (A) พาราพรหฺม-อุปนิษัท
- Avadhuta (KY) อาวธุตะ-อุปนิษัท
- Tripuratapini (A) ตรีปุรตปินิ-อุปนิษัท
- Devi (A) เทวี-อุปนิษัท
- Tripura (R) ตรีปุร-อุปนิษัท
- Katharudra (KY) คาธรุทร-อุปนิษัท
- Bhavana (A) ภาวนา-อุปนิษัท
- Rudrahrdaya (KY) รุทรหฤทย-อุปนิษัท
- Yogakundalini (KY) โยคกุนฺฑาลินี-อุปนิษัท
- Bhasmajabala (A) ภสฺมาจบาล-อุปนิษัท
- Rudrakshajabala (S) รุทรกฺษจบาล-อุปนิษัท
- Ganapati (A) คณปติ-อุปนิษัท
- Jabaladarsana (S) จาบาลทรรศน-อุปนิษัท
- Tarasara (SY) ตารสาร-อุปนิษัท
- Mahavakya (A) มหาวรรคย-อุปนิษัท
- Panchabrahma (KY) ปญฺจพรหม-อุปนิษัท
- Pranagnihotra (KY) ปราณาคนิโหตร-อุปนิษัท
- Gopalatapini (A) โกปาลตาปินิ-อุปนิษัท
- Krishna (A) กฤษณ-อุปนิษัท
- Yajnavalkya (SY) ยญฺญวลฺคย-อุปนิษัท
- Varaha (KY) วราห-อุปนิษัท
- Satyayani (SY) สตฺยยานี-อุปนิษัท
- Hayagriva (A) หยากรีว-อุปนิษัท
- Dattatreya (A) ทตฺตาตรีย-อุปนิษัท
- Garuda (A) การุด-อุปนิษัท
- Kalisantarana (KY) กาลิสนฺตราน-อุปนิษัท
- Jabali (S) จาบลี-อุปนิษัท
- Saubhagyalakshmi (R) เสาภคยลกฺษมี-อุปนิษัท
- Sarasvatirahasya (KY) สรสฺยาตรีรหสฺย-อุปนิษัท
- Bahvrchi (R) พาหวรชิ-อุปนิษัท
- Muktika (SY) มุกฺติก-อุปนิษัท
อ้างอิงจาก: The Ribhu Gita First English Translation from the Original Sanskrit Indian Epic Sivarahasya by Dr. H. Ramamoorthy Assisted by Master Nome; ตำราปรัชญาอินเดียสมัยโบราณ โดย รศ.นงเยาว์ ชาญณรงค์
สรรพสิ่งคือ "อาตมัน"
ปรัชญามีมางสา เป็นการวิเคราะห์ภาคแรกของคัมภีร์พระเวท
ปรัชญาเวทานตะหรืออุตาระ เป็นการวิเคราะห์ภาคหลังของคัมภีร์พระเวท เป็นการรวบรวมและเริ่มต้นศาสนาฮินดู
ปรัชญานยายะ เป็นปรัชญาที่เน้นหลักตรรกวิทยา
ปรัชญาไวเศษิกะ เป็นวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ มีการกล่าวถึงเรื่อง อะตอม และปรมาณู
สางขยะ
ปรัชญาสางขยะ เป็นการหาเหตุผลในการวิเคราะห์ธรรมชาติ
โยคะ
ปรัชญาโยคะ เป็นวิธีการบำเพ็ญสมาธิ