บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
มนตราแห่งการตระหนักรู้ ยอมรับ และ ภักดีต่อพระศิวะ มนตรานี้ปลดปล่อยผู้ภักดีจากความตายด้วยศานติในจิตใจของผู้บูชา
บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
โดย ฤๅษีมารกัณเฑยะ ผู้เอาชนะความตาย
ॐ त्र्यम्बकं यजामहे सुगन्धिं पुष्टिवर्धनम् |
उर्वारुकमिव बन्धनान्मृत्योर्मुक्षीय माऽमृतात् ||
- โอม ไตรยัมบาคัม ยาจามะเฮ สุกันธิม ปุชทิวาธานัม |
- อุร์วารุคคะมิวา บันธนาท มฤตโยมุคชียา มามฤตตาต ||
บทสวดบูชาพระศิวะนี้เป็นมนตราที่มีมาแต่โบราณ มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มนตรามหามฤตยูนชย, มนต์มหามฤตยู, รุทระมนตรา หรือ ไตรยัมบาคัมมนตรา รจนาโดย “ฤาษีมารกัณเฑยะ” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้เอาชนะความตาย ผู้ใดก็ตามที่สวดมนตรานี้ จะได้รับผลทางตรงคือ “ความตระหนักรู้ การยอมรับ และ ความภักดี ต่อพระศิวะผู้เป็นเจ้า” และจะได้รับอานิสงส์คือการรอดพ้นจากความตาย 2 ประการ คือ ความตายก่อนวัยอันควร และ ความตายเมื่อถึงกำหนดเวลา อันเป็นที่พรั่นพรึงต่อมนุษย์ทั่วไป
“ความตาย” ในคติของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู หมายถึง การเปลี่ยนสภาวะจากการมีชีวิตเลือดเนื้อแบบมนุษย์ เข้าสู่การโอนย้าย (transmigration) เข้าสู่อีกภาวะหนึ่ง ตามผลบุญกรรมที่ได้เคยทำเอาไว้ ความตายหรือการโอนย้ายเป็นการละทิ้งร่างกาย (กายหยาบ) ส่วนวิญญาณจะนำประสบการณ์และความทรงจำไปด้วยเพื่อไปสู่ภพภูมิใหม่ต่อไป
“การเอาชนะความตาย” ที่ได้รับจากการภาวนามนตราบูชาพระศิวะ คือ การรอดพ้นจากความตายก่อนวัยอันควร และเมื่อถึงกำหนดเวลาแห่งความตาย “สาวกผู้ภักดี” ย่อมไม่เกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะความภักดีจะนำพาสาวกไปสู่บทใหม่เพื่อหนทางในการรับใช้พระเป็นเจ้าเพียงเท่านั้นฯ
คำแปลและความหมาย
มนตรามหามฤตยูนชย หรือ มนต์มหามฤตยู หรือ รุทรมนตรา หรือ ไตรยัมบาคัมมนตรา
สันสกฤต
ॐ त्र्यम्बकं यजामहे सुगन्धिं पुष्टिवर्धनम् |
उर्वारुकमिव बन्धनान्मृत्योर्मुक्षीय माऽमृतात् ||
English
Aum Tryambakam yajaamahe sugandhim pushtivardhanam |
Urvaarukamiva bandhanaan-mrityormuksheeya maamritaat ||
ไทย
โอม ไตรยัมบาคัม ยาจามะเฮ สุกันธิม ปุชทิวาธานัม |
อุร์วารุคคะมิวา บันธนาท มฤตโยมุคชียา มามฤตตาต ||
มหามฤตยูมนตรา
เราขอนอบน้อมบูชาแต่พระองค์ผู้มีสามตา (ศิวะ) ทรงสุคนธ์ (มีกลิ่นหอม) และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต (ผู้เป็นอิสระจากพันธนาการทั้งปวง) ขอให้เราได้รับการปลดปล่อยจากมรณะ จากความตาย เช่นเดียวกับผล (แตงชนิดหนึ่งหรือผลน้ำเต้า) ที่หลุดจากพันธนาการของลำต้น
ศานติที่ใฝ่หา
ความสุขที่ใฝ่หาแท้จริงแล้วหลับใหลอยู่ภายในก้นบึ้งของจิตใจของตนเอง
ความรัก
ความรักต่อสรรพสิ่งโดยไร้เงื่อนไข
อิสระ
เป็นอิสระจากข้อจำกัดทุกประการ
ความสุข
ความสุขที่เกิดจากภายในตนเองเท่านั้น
เป็นประโยชน์
สร้างประโยชน์ต่อโลกใบนี้
ธรรมชาตินำความสงบมาให้
การอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ผืนดิน ต้นไม้ นอกจากจะสดชื่นทางกายแล้ว ธรรมชาติจะนำความสมดุลย์และความสงบสุขมาสู่มนุษย์อีกด้วย