อวธูตะ คีตา บทที่ ๘
त्वद्यात्रया व्यापकता हता ते
ध्यानेन चेतःपरता हता ते ।
स्तुत्या मया वाक्परता हता ते
क्षमस्व नित्यं त्रिविधापराधान् ॥ १॥
1. O Brahman, by going on a pilgrimage to seek you, I have denied your omnipresence; by meditating on you, I have given you form in my mind and thus denied your formless nature; by singing hymns, I have described you and thus denied your indescribable nature. Forgive me for these three offenses.
1. โอ พรหมัน, ในการออกจาริกเพื่อค้นหาท่าน, ข้าฯ ได้ปฏิเสธว่าท่านอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง; ในการปฏิบัติสมาธิถึงท่าน, ข้าฯ ได้ยินยอมให้มีรูป (ของท่าน) ในจิตใจของข้าฯ และ (ดังนั้นจึงเป็นการ) ปฏิเสธธรรมชาติอันไร้รูปของท่าน; ในการสวดภาวนา, ข้าฯ ได้อธิบายถึงท่าน และ (ดังนั้นจึงเป็นการ) ปฏิเสธธรรมชาติที่อธิบายมิได้ของท่าน. โปรดอภัยแก่ข้าฯ สำหรับความผิดสามประการนี้.
कामैरहतधीर्दान्तो मृदुः शुचिरकिञ्चनः ।
अनीहो मितभुक् शान्तः स्थिरो मच्छरणो मुनिः ॥ २॥
2. He whose intellect is not agitated by desires, and whose sense organs are controlled; he who is gentle, pure, without possessions, not covetous, not greedy for food, serene, and steadfast; he who has taken refuge in the Self—he alone is a sage.
2. ผู้มีปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวต่อความปรารถนา, เขาคือผู้ที่ควบคุมความรู้สึก (ประสาทสัมผัส) ได้; เขาคือผู้อ่อนโยน, บริสุทธิ์, ปราศจากการครอบครอง, ไม่โลภ, ไม่เห็นแก่กิน, สงบ, และมั่นคง; เขาคือผู้ที่เข้าลี้ภัยในอาตมัน – ลำพังเขา (ผู้เดียว) นั้นคือปราชญ์.
अप्रमत्तो गभीरात्मा धृतिमान् जितषड्गुणः ।
अमानी मानदः कल्पो मैत्रः कारुणिकः कविः ॥ ३॥
3. The sage is vigilant, profound, and steady, and has conquered the mind and the senses. He is humble and gives honour to all. He is well mannered, friendly, compassionate, and farsighted.
3. ปราชญ์คือผู้ระแวดระวัง, ลึกซึ้ง, และมั่นคง, และได้พิชิต (เอาชนะ) จิตใจและความรู้สึก (ประสาทสัมผัส). เขาเป็นคนถ่อมตัวและให้เกียรติทุกสิ่ง. เขาสุภาพอ่อนโยน, เป็นมิตร, มีน้ำใจ, และมองการณ์ไกล.
कृपालुरकृतद्रोहस्तितिक्षुः सर्वदेहिनाम् ।
सत्यसारोऽनवद्यात्मा समः सर्वोपकारकः ॥ ४॥
4. The sage is gracious, nonviolent, and forbearing toward all. He is established in truth, impartial, and beneficent to all. He is a blameless soul.
4. ปราชญ์คือผู้มีความกรุณา, ไม่รุนแรง, และอดทนต่อทุกสิ่ง. เขาตั้งตนอยู่ในความสัตย์, เป็นกลาง, และเกื้อกูลทุกสิ่ง. เขาคือจิตวิญญาณอันไร้ที่ติ.
अवधूतलक्षणं वर्णैर्ज्ञातव्यं भगवत्तमैः ।
वेदवर्णार्थतत्त्वज्ञैर्वेदवेदान्तवादिभिः ॥ ५॥
5. One should learn the characteristics of a supreme A-VA-DHU-TA, syllable by syllable, from the teachers of the Vedas and Vedanta who are adept in understanding the syllables and the meaning of the Vedas.
5. เราควรเรียนรู้คุณลักษณะของอวธูตะผู้สูงสุด, พยางค์ต่อพยางค์, จากคุรุผู้สอนพระเวทและเวทานตะ ซึ่งเชี่ยวชาญในการทำความเข้าใจพยางค์ต่างๆ และความหมายของพระเวท.
आशापाशविनिर्मुक्त आदिमध्यान्तनिर्मलः ।
आनन्दे वर्तते नित्यमकारं तस्य लक्षणम् ॥ ६॥
6. The syllable A of Avadhuta indicates that he is free from the snare of hopes and expectations. His life is pure from its beginning, through its middle, to its end; and he always dwells in bliss.
6. พยางค์ “อะ” ของอวธูตะ ชี้ให้เห็นว่าพระองค์เป็นอิสระจากกับดักของความคาดหวัง. ชีวิตของพระองค์บริสุทธิ์จากจุดเริ่มต้น, ท่ามกลาง, จนถึงจุดจบ; และพระองค์สถิตในนิรามิสสุขเสมอ.
वासना वर्जिता येन वक्तव्यं च निरामयम् । वर्तमानेषु वर्तेत वकारं तस्य लक्षणम् ॥ ७॥
7. The syllable VA of Avadhuta indicates that he has uprooted all desires. His speech is purifying, and he always lives in the ever-present Brahman.
7. พยางค์ “วะ” ของอวธูตะ ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ได้ถอนรากถอนโคนความปรารถนาทั้งปวงแล้ว. วจนะของพระองค์นั้นบริสุทธิ์, พระองค์พักพิงอาศัยอยู่ในพรหมันเป็นนิตย์.
धूलिधूसरगात्राणि धूतचित्तो निरामयः ।
धारणाध्याननिर्मुक्तो धूकारस्तस्य लक्षणम् ॥ ८॥
8. The syllable DHU of Avadhuta indicates that, though his body is besmeared with grey dust from lack of body-consciousness, his mind is pure and healthy. He no longer needs to practise concentration and meditation.
8. พยางค์ “ธู” ของอวธูตะ ชี้ให้เห็นว่า, แม้ร่างกายของพระองค์จะเปื้อนด้วยฝุ่นสีเทาเพราะไร้สำนึกแห่งร่างกาย, จิตใจของพระองค์นั้นบริสุทธิ์และแข็งแรง. พระองค์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติฌานและสมาธิอีกต่อไป.
तत्त्वचिन्ता धृता येन चिन्ताचेष्टाविवर्जितः ।
तमोऽहंकारनिर्मुक्तस्तकारस्तस्य लक्षणम् ॥ ९॥
9. The syllable TA of Avadhuta indicates that he is absorbed in the thought of Brahman, and that he does not suffer from anxiety or feel obliged to exert himself. He is completely free from both egotism and ignorance.
9. พยางค์ “ตะ” ของอวธูตะ ชี้ให้เห็นว่า, พระองค์ดื่มด่ำอยู่ในความคิดแห่งพรหมัน, และพระองค์มิได้เป็นทุกข์จากความวิตกกังวล หรือ รู้สึกบีบคั้นในการสำแดงพระองค์. พระองค์ปราศจากทั้งความเห็นแก่ตัวและอวิชชาอย่างสมบูรณ์.
दत्तात्रेयावधूतेन निर्मितानन्दरूपिणा ।
ये पठन्ति च शृण्वन्ति तेषां नैव पुनर्भवः ॥ १०॥
10. This is the blissful song composed by Datta- treya Avadhuta. Those who read it or hear it become free from rebirth.
10. นี้คือคีตาอันสมบูรณ์ด้วยนิรามิสสุข ประพันธ์โดย ทัตตะเตรยะ อวธูตะ. ผู้ที่อ่านหรือได้ยินบทเพลงนี้, จะเป็นอิสระจากการเกิดใหม่.
इति अष्टमोऽध्यायः ॥ ८॥
Here ends the eighth chapter of the Avadhuta Gita of Dattatreya—the Swami’s instructions to Kartika entitled “Self-Knowledge.”
จบบทที่แปดของ อวธูตะ คีตา แห่งทัตตะเตรยะ ในหัวข้อ – คำสอนของสวามีที่แนะนำกฤติกา เรื่อง “ความรู้เรื่องอาตมัน”
इति अवधूतगीता समाप्ता ॥
Om Tat Sat
Here ends the Avadhuta Gita
โอม ตตฺ สตฺ
จบ อวธูตะ คีตา