บทที่ 13

ความสุข

กษัตริย์ชนกได้ถูกแนะนำจากคุรุให้ “จงเป็นสุข” แสดงว่าเขาเป็นเช่นนั้นจริง

กษัตริย์ชนก กล่าว :

13.1

“ศานติ” (ความสงบเยือกเย็น) ที่ผลิบานในผู้ซึ่งปราศจากสิ่งใด แม้เมื่อผู้นั้นสวมใส่เพียงผ้าเตี่ยวชิ้นเดียว ก็ยังหาได้ยากยิ่ง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าล้มเลิกการปล่อยวางและการยอมรับ ข้าพเจ้าพำนักอยู่ในความสุข

 (“ศานติ” ที่แข็งแรงอย่างแท้จริงหมายถึงสภาวะที่ก่อเกิดขึ้นในอาตมันของบุคคลนั้น”

(“ผู้ซึ่งปราศจากสิ่งใด” หมายถึง ผู้ที่ตั้งตนในภาวะสมบูรณ์ของอาตมันนิรันดร์ ตระหนักรู้ว่า เขาแยกจากทุกสิ่งของโลก ไม่ยึดติดอย่างแท้จริง)

(“ศานติ” นั้นไม่มีสาเหตุ มิใช่ผลผลิตเหมือนความยินดีที่เกิดจาก ความสนุกสนาน สุขภาพ ความร่ำรวย ความสวยงาม หรือความมีชื่อเสียง)

(“ศานติ” เป็นสิ่งมีอยู่ตามปกติในอาตมันนิรันดร์ ตราบเท่าที่เรายังยึดติดกับสิ่งที่เล็กน้อยที่สุด ก็จะไม่สามารถบรรลุถึงอาตมันนิรันดร์และความปิติเบิกบาน)

 (“แม้มีเพียงผ้าเตี่ยวชิ้นเดียว” วลีนี้ชี้ให้เห็นภาวะที่สูงมากของการปล่อยวางและการตระหนักรู้ในจิตวิญญาณ คำว่า การสวมใส่เพียงผ้าเตี่ยว เป็นตัวบ่งชี้ถึงสำนึกแห่งการเปรียบเทียบ [relative consciousness] )

 (“เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าล้มเลิกการปล่อยวาง” อธิบายเพิ่มเติมว่า การปล่อยวางยังทำให้เกิด การคาดการณ์ล่วงหน้า อัตตา และยึดติด เพราะฉะนั้นความสุขที่แท้จริง อยู่ในการคงสภาวะการตระหนักรู้ในขั้นที่สูงกว่า)

13.2

มีความลำบากของกาย (จากการบำเพ็ญทุกรกริยา) มีความเหน็ดเหนื่อยของลิ้น (จากการอ่านพระคัมภีร์) มีความเหนื่อยยากของใจ (จากการปฏิบัติสมาธิ) ข้าพเจ้าปล่อยวางสิ่งเหล่านี้, และพำนักอยู่ในเป้าหมายสูงสุดของชีวิตอย่างมีความสุข

(คาดได้ว่าผลของการปฏิบัติเพื่อตระหนักรู้ถึงอาตมันโดยใช้ กาย วาจา ใจ นั้นจะไม่สมบูรณ์ นี่คือช่วงเวลาของความพยายามที่จะต้องฝ่าฟัน ความสงบที่สมบูรณ์จะมาพร้อมกับการตระหนักรู้ถึงอาตมัน)

 (เป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ การตระหนักรู้ถึงอาตมัน หรือ “โมกษะ”)

13.3

จงตระหนักรู้อย่างเต็มที่ว่า แท้จริงแล้วไม่มีสิ่งใดเลยที่ถูกกระทำโดยอาตมัน (เพราะทุกสิ่งกระทำโดย กาย จิต ร่วมกับอัตตา ; อาตมันเป็นสิ่งที่พ้นแล้วจากสิ่งเหล่านั้น) ข้าพเจ้าทำในสิ่งที่ปรากฏขึ้นว่าต้องกระทำ (โดยปราศจากอัตตาและการยึดติด มีเพียงร่างกายและจิตที่กระทำ แต่อาตมันยังคงสงบนิ่งไม่ยึดติดหรือผูกพัน) และพำนักอยู่อย่างมีความสุข

(สิ่งที่ปรากฏขึ้นว่าต้องกระทำ หมายถึง การกระทำอย่างน้อยที่สุด เช่น การกิน การนอน เป็นต้นที่จำเป็นต่อการมีชีวิต ตราบเท่าที่ยังพำนักอยู่ในร่างกายนี้)

13.4

โยคีผู้ยึดติดกับร่างกายยืนหยัดต่อ “กรรม” และ “อกรรม” แต่เนื่องจากข้าพเจ้านั้นไม่มีทั้ง การมีส่วนร่วม (ของร่างกาย) และการไม่มีส่วนร่วม (ของร่างกาย) ข้าพเจ้าพำนักอยู่อย่างมีความสุข

(การกำหนดเงื่อนไขของ กรรม และ อกรรม นั้นเป็นจริงได้สำหรับผู้ที่ยังคงมีความคิดว่ามีร่างกาย สำหรับผู้ที่ไม่มีร่างกาย กรรม และ อกรรม ก็ไร้ความหมาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ถูกปลดปล่อยจากร่างกายโดยสมบูรณ์, เราก็ไม่ตระหนักรู้ถึงอาตมันได้อย่างเต็มที่ เราต้องทำตามกฎที่บัญญัติไว้ มีข้อห้ามกระทำสิ่งต่างๆ ตามวิถีทางของระเบียบวินัย เมื่อตระหนักรู้ถึงอาตมัน, กฎเหล่านั้นก็ไม่มีความหมายใดๆ)

 (ผู้ซึ่งสมบูรณ์พร้อมในอาตมัน แม้เขาใช้ร่างกายกระทำกรรม ผู้นั้นก็มิได้รับผลกระทบใดๆ การมีส่วนร่วมของร่างกายเป็นไปโดยความสมัครใจและอยู่ภายใต้การควบคุม เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการไม่มีส่วนร่วม เพราะโดยแท้จริงแล้วมันมิได้มีส่วนร่วมอยู่เลยแม้แต่น้อย)

13.5

ไม่มีความดีหรือความชั่วเกิดขึ้นกับข้าพเจ้าโดยการอยู่ การไป หรือการนอนหลับ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงพำนักอย่างมีความสุขไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น

(ความดีหรือความชั่วเป็นผลจากการกระทำที่ทำโดยกายและใจ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ยึดติดกับกายและใจ)

(ตราบเท่าที่ยังอาศัยอยู่ในร่างกาย ผู้นั้นย่อมกระทำสิ่งต่างๆ แต่การกระทำมิได้สร้างความแตกต่างต่อสำนึกภายในของเขา)

13.6

ข้าพเจ้ามิได้สูญเสียสิ่งใดโดยการอยู่เฉยๆ (นอนหลับ) และ ก็มิได้รับสิ่งใดโดยการมุ่งมั่น ดังนั้น, ข้าพเจ้าล้มเลิก (ความคิด) ของการสูญเสียและอิ่มเอมใจ และพำนักอยู่อย่างมีความสุข

(การสูญเสียและการอิ่มเอมใจ ในที่นี้หมายถึงความรู้สึกผิดหวังและสมหวังที่มีต่อสิ่งต่างๆ ในทางโลก)

13.7

เมื่อสังเกตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในความผันผวน ขึ้นๆ ลงๆ ของความพึงพอใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ข้าพเจ้าปล่อยวางความดีและความชั่ว และพำนักอยู่อย่างมีความสุข

 (ความดีและความชั่วอยู่ในใจเราพร้อมกับความสุขและความทุกข์ เรามองหาความดีและหลีกเลี่ยงความชั่วเพื่อที่จะมีความสุข แต่ผู้ซึ่งตะหนักรู้ว่าความสุขและความทุกข์นั้น แท้จริงแล้วเป็นผลที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และไม่ได้เป็นของอาตมันนิรันด์ จงอย่าห่วงความดีและความชั่วอีกต่อไป และสถิตอยู่ในอาตมันซึ่งจริงแท้และมีความสุขสมบูรณ์)

Ashtavakra Kita (in thai) by Tandhava

Get carried away?

ความรู้เรื่องอัชฌตวกระคีตาเพิ่มเติม

บทก่อนหน้า

previous

กลับไปสารบัญ

index

บทถัดไป

next