บทที่ 5
หนทางทั้งสี่สู่นิพพาน
อัษฏาวกระได้แสดงหนทางอันรวบรัดทั้งสี่เพื่อก้าวสู่ “นิพพาน”
อัษฏาวกระ กล่าว :
5.1
ท่านมิได้สัมผัสกับสิ่งใดๆ เลย เพราะฉะนั้น, ท่านจึงบริสุทธิ์ดั่งที่ท่านเป็นอยู่, ท่านต้องการละทิ้งสิ่งใดหรือ ?
(ความหมายคือ : เราจะละทิ้งสิ่งที่เรายึดติด แต่อาตมันบริสุทธิ์นั้นมิได้ยึดติดกับสิ่งใด)
จงทำลายความซับซ้อนแล้วเข้าสู่ศานติสุขของนิพพาน
5.2
จักรวาลนั้นก่อตัวขึ้นจากท่าน เปรียบเสมือนพรายฟองที่ก่อตัวขึ้นจากมหาสมุทร
จงตระหนักรู้ว่า อาตมันนั้นเป็นหนึ่งเดียว เช่นนั้นแล้ว จงเข้าสู่ศานติสุขแห่ง (ภาวะของ) นิพพาน
(ความหมายคือ : ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดบนโลกนั้นคือมายา แท้จริงแล้วไม่มีสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจาก อาตมัน)
(ความรู้ที่ว่าอาตมันนั้นเป็นหนึ่งเดียวที่มีอยู่จริง จะลบล้างปรากฏการณ์ใดๆ บนโลก และตระหนักรู้ถึงภาวะสมบูรณ์)
5.3
เป็นที่ประจักษ์ว่า จักรวาลนั้นก่อตัวขึ้นจากท่าน เปรียบเช่น งูพิษซึ่งก่อตัวขึ้นจากเชือก (งูพิษและจักรวาลนั้นเป็นเพียงมายา ไม่มีอยู่จริง) ซึ่งมันมิได้เกิดขึ้นในท่าน ผู้ซึ่งบริสุทธิ์ เพราะว่ามันเป็นสิ่งลวง
เมื่อได้ประจักษ์สิ่งนี้แล้ว ท่านจะเข้าสู่ศานติสุขแห่ง (ภาวะ) ของนิพพานอย่างแน่นอน
(ผู้บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึง ภาพลวงตาอันเป็นโลกมายานั้น มิอาจส่งผลกระทบต่ออาตมัน อาตมันจึงบริสุทธิ์)
(ประจักษ์สิ่งนี้ ในที่นี้หมายถึง ได้ตะหนักรู้ว่าโลกมายาไม่มีอยู่จริง)
5.4
ท่านคือความสมบูรณ์พร้อม และ ปล่อยวางทั้งทุกข์และสุข, ความหวังและความผิดหวัง ปล่อยวางแม้กระทั่งชีวิตและความตาย
เมื่อได้ประจักษ์สิ่งนี้แล้ว ท่านจงบรรลุ (สภาวะของ) นิพพาน
(โศลกที่ 1-3 เป็นการดับของ มายาภายนอก แต่โศลกนี้เป็นการกระทำต่อมายาภายใน – มายาของ ความคิด และ ความรู้สึก เราย่อมได้รับผลกระทบคือ ความสนุกและความเสียใจ, ความหวังและความสิ้นหวัง ไปจนถึง ชีวิตและความตาย ตราบเท่าที่เราพิจารณาว่าตัวเรายังไม่สมบูรณ์, และเป็นสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากอาตมัน แต่ในขณะที่เราตระหนักรู้ว่าเราเป็นเพียงอาตมันและสมบูรณ์, เราจะก้าวข้ามทุกสิ่งที่เป็นคู่ตรงกันข้าม และไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านั้น และเราจะตระหนักรู้ถึงอิสระโดยธรรมชาติ)
ในบทนี้...
บทที่ 5 ได้อธิบายถึง 4 หนทางที่แตกต่างกันเพื่อการตระหนักรู้ของภาวะสมบูรณ์ (absolute)
โศลกที่ 1 กล่าวถึง อสังคะ (การไม่สงเคราะห์) คือ “การปล่อยวาง”
โศลกที่ 2 กล่าวถึงการดูจักรวาลว่าในความเป็นจริงแล้วมีเพียง “อาตมัน”
โศลกที่ 3 กล่าวถึง การพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลว่าเป็นเพียงภาพลวงตา “มายา”
โศลกที่ 4 กล่าวถึง “การไม่มีผลกระทบ” จากปรากฏการณ์ ทั้งภายนอกและภายใน
ทัศนะทั้งสี่ นี้ จะนำเข้าสู่การตระหนักรู้ที่แท้จริงของภาวะสมบูรณ์
Ashtavakra Kita (in thai) by Tandhava
คำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับบทนี้
การรวมกันของกาย, จิต, สติปัญญา และ ผัสสะ รวมกันขึ้นเป็นเอกลักษณ์ตัวตน ความซับซ้อนถูกสร้างให้เกิดขึ้นและบดบังการตระหนักรู้ถึงอาตมัน
ในขณะที่ทำลายความซับซ้อน, จะหลอมรวมเข้าสู่ความสัมบูรณ์ (absolute)
ภาวะที่ไม่มีปรากฏการณ์ใดๆ ภาวะที่ไม่มีสิ่งใดปรากฏขึ้นอีก ภาวะสัมบูรณ์ (absolute)
การเห็นเชือกเป็นงู การเห็นพยับแดดเป็นน้ำ คือ มายาที่เกิดจากอวิชชาเป็นต้นเหตุ เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นเชือกจริงๆ จึงเห็นเป็นงู แต่เมื่อรู้ว่านั้นคือเชือก คือแดด ภาพลวงตาซึ่งเป็นมายาก็จะหายไป